The Use of Generative Adversarial Networks (GANs) for Economic Research

Generative Adversarial Networks (GANs) are a powerful machine learning technique with exciting applications in economic research.

This presentation starts with the exciting growing literature from the intersection of machine learning (ML) and economics.

We’ll review a foundation in core ML concepts, followed by a gentle introduction to deep learning, a powerful subfield. 

We’ll then delve into Generative Adversarial Networks (GANs), a fascinating deep learning technique.

Finally, the presentation will discuss the potential applications of GANs that can contribute to new economic insights and advancements.

http://dx.doi.org/10.13140/RG.2.2.34077.93922/1

https://setthasarn.econ.tu.ac.th/blog/detail/676

โอกาสการใช้ปัญญาประดิษฐ์แบบรู้สร้างประเภท Generative Adversarial Networks (GANs) เพื่อการวิจัยทางเศรษฐศาสตร์

ผศ.ดร.ทีปกร จิร์ฐิติกุลชัย 

คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ความก้าวหน้าของวิทยาการคอมพิวเตอร์ได้มีการพัฒนาวิธีการทางปัญญาประดิษฐ์แบบรู้สร้าง หรือ Generative Artificial Intelligence (GenAI) ประเภท Generative Adversarial Networks (GANs) (Goodfellow I., 2014) เป็นแบบจำลองทางคณิตศาสตร์สถิติในรูปแบบของอัลกอริทึม (algorithm) เพื่อการเรียนรู้ชุดข้อมูลสำหรับสร้างผลลัพธ์ข้อมูลในรูปแบบใหม่ เช่น รูปภาพ ไฟล์เสียง หรือข้อความ หรือ ข้อมูลในรูปแบบอื่น ๆ โดย Ian J. Goodfellow มีอายุ 27 ปี เมื่อปี ค.ศ. 2014

จากการนำแบบจำลอง GANs มาใช้อย่างแพร่หลายทางด้านมืด คือ การทำ Deepfake หรือ Deep Learning + Fake โดยนำใบหน้าคนดัง หรือบุคคลสำคัญมาใช้ในสื่อลามกโดยไม่ได้รับความยินยอม, ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือสร้างความปั่นป่วนในประเทศอเมริกา โดยมีการปลอมแปลงทั้งโดนัลด์ ทรัมป์ และ บารัค โอบามา เพื่อหวังผลทางการเมือง, หรือ ในปัจจุบัน ประเทศไทยมีการใช้เทคโนโลยี Deepfake โดยแก๊ง call center ใช้วิธีวิดีโอคอลมาหาเหยื่อ อ้างตัวเป็นตำรวจ หลอกให้เหยื่อโอนเงิน โดยตัดต่อเสียงให้เข้ากับใบหน้าของตำรวจ เพื่อหลอกให้เหยื่อเชื่อว่าเป็นตำรวจจริง

ขณะนี้ แบบจำลอง GANs กำลังมีอิทธิพลสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมเศรษฐกิจ เพราะอยู่เบื้องหลังความฉลาดอย่างก้าวกระโดดของปัญญาประดิษฐ์ เช่น ChatGPT, DALL-E และ Google’s Bard เป็นต้น จนทำให้ประชาคมโลกต่างเห็นโอกาสในการเสริมกัน (complementary) ของแรงงานที่มีทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ (cognitive analytical skills) หรือ สามารถใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการทำงานสร้างสรรค์ ในขณะที่เราเห็นความเสี่ยงจากการทดแทน (substitution) สำหรับแรงงานกลุ่มที่ด้อยโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาคุณภาพ เป็นแรงงานไร้ทักษะหรือทำงานที่ไม่ต้องใช้ทักษะการวิเคราะห์

สถาปัตยกรรม deep learning สำหรับ GANs ประกอบด้วย โครงข่ายประสาทเทียม (Artificial neural networks: ANN) จำนวน 2 โครงข่าย คือ

  1. โครงข่าย Generator: ทำหน้าที่สร้างตัวอย่างข้อมูลใหม่ โดยรับข้อมูลเชิงสุ่มที่มีลักษณะเป็น random noise ใช้เป็น input สำหรับการสร้างข้อมูลใหม่ มีเป้าหมายเพื่อการสร้างข้อมูลที่ทำให้ไม่สามารถแยกแยะได้จากข้อมูลจริง
  2. โครงข่าย Discriminator: ทำหน้าที่ประเมินข้อมูลและพยายามแยกแยะระหว่างข้อมูลจริง (real) และข้อมูลปลอม (fake) ที่สร้างขึ้นจากโครงข่าย Generator โดยรับทั้งข้อมูลจริง (real) และข้อมูลปลอม (fake) เป็น input และกำหนดคะแนนความน่าจะเป็นให้กับแต่ละจุดข้อมูล เพื่อชี้วัดถึงความถูกต้องของข้อมูล

กระบวนการเรียนรู้ของปัญญาประดิษฐ์ (training process) ของ GANs มีลักษณะที่โครงข่าย Generator และ โครงข่าย Discriminator จะได้รับการฝึกฝน (trained) ในรูปแบบของเกมการแข่งขัน (competitive game) ระหว่างกัน กล่าวคือ โครงข่าย Generator มีเป้าหมายที่จะสร้างข้อมูลที่น่าเชื่อถือจนกระทั่งโครงข่าย Discriminator ไม่สามารถจะแยกแยะระหว่างข้อมูลที่เป็นจริงและข้อมูลที่ถูกสร้างขึ้น ในขณะเดียวกัน โครงข่าย Discriminator มีเป้าหมายที่จะปรับปรุงความสามารถของโครงข่ายในการแยกแยะระหว่างข้อมูลที่เป็นจริงและข้อมูลปลอม จึงเป็นกระบวนการที่มีความตรงข้ามกันหรือเป็นปรปักษ์ (adversarial)

กระบวนการเรียนรู้ (training) จะดำเนินต่อไปจนกระทั่งโครงข่าย Generator สามารถสร้างชุดข้อมูลเสมือนจริงขึ้นมาตามการแจกแจงความน่าจะเป็นของข้อมูลจริง ซึ่งแบบจำลองรู้สร้างประเภทต่าง ๆ ก่อนหน้า จะไม่สามารถฝึกฝน และประยุกต์ใช้งานได้ หากไม่มีลักษณะการกระจายหรือความหนาแน่นของความน่าจะเป็น (density of probability) แต่ถ้าเป็นแบบจำลอง GANs ซึ่งเป็น probabilistic generative model ประเภทหนึ่ง จะยังคงสามารถใช้ทำงานได้ แม้จะไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับความน่าจะเป็นของข้อมูล (Pan Z. et al., 2019) อันสืบเนื่องจาก GANs มีกลไกการเรียนรู้แบบปฏิปักษ์ (adversarial training mechanism) ที่ชาญฉลาด

แบบจำลอง GANs สามารถอธิบายด้วยทฤษฎีเกม คือ โครงข่าย Generator และ โครงข่าย Discriminator จะแข่งขันกันในลักษณะเป็น zero-sum game จนกระทั่งบรรลุถึงจุดดุลยภาพแบบ Nash หรือ Nash equilibrium ภายในกระบวนการฝึกฝน (training) (Creswell A. et al., 2018; Alqahtani H. et al., 2021; and Gui J. et al., 2021) ผลลัพธ์สุดท้ายที่ได้จากระบบการเรียนรู้ของ GANs สามารถอธิบายด้วยทฤษฎีเกมแบบ min-max (Mohebbi Moghaddam M., 2023)

ดังที่กล่าวไว้แล้วว่า GANs อาศัยหลักการที่มีระบบ artificial intelligent (AI) สองระบบได้รับการฝึกฝน (train) ให้เรียนรู้ที่จะทำการแข่งขันกัน โดย GANS มีโครงข่าย AI ระบบแรกเป็น neural network เรียกว่า Generator (G) ทำหน้าที่หลอกลวงหรือหลบหลีกระบบที่สอง โดยการสร้างข้อมูลปลอมขึ้นมาที่เราเรียกว่า fake sample มีปัจจัยนำเข้า (input) คือ random noise vector Z ซึ่งมักสมมติการกระจายแบบ uniform หรือ normal โดย noise Z จะถูก map ไปยัง data space ใหม่ ด้วยการกระตุ้นจากสิ่งแปลกปลอมที่เพิ่มเข้าในระบบการเรียนรู้เพียงเล็กน้อย บวกเข้ากับสิ่งที่เป็นผลลัพธ์จากความผิดพลาดในเรียนรู้ เพื่อหลบหลีกการจับผิดของ Discriminator D ในช่วงเวลาก่อนหน้า เพื่อให้ข้อมูลได้เกิดการเรียนรู้ในการปรับตัว (adaptive) สำหรับรอบถัดไป จนกระทั่งสามารถฝึกฝน Generator G ให้สร้าง fake sample G(Z) ที่เป็น multi-dimensional vector มีลักษณะเหมือนข้อมูลจริงมากที่สุด

จากนั้นโครงข่าย AI ระบบที่สองเป็น neural network เรียกว่า Discriminator D ทำหน้าที่เป็น binary classifier โดยใช้ทั้งข้อมูลจริง X และ fake sample ที่สร้างจาก Generator G เพื่อเป็น input สำหรับ Discriminator D ในการสร้าง output คือ ความน่าจะเป็นว่า ข้อมูลนั้นเป็นจริงหรือปลอม

ตามภาพที่ 1 กระบวนการจำแนก (classification) โดย D จะทำการจำแนกข้อมูลว่า เป็นข้อมูลจริง x หรือข้อมูลปลอม G(Z)  ในขณะที่ Generator G จะสร้างข้อมูลที่มีประสิทธิภาพดีกว่าเดิม จนกระทั่ง Discriminator D ไม่สามารถแยกออกระหว่างเป็นข้อมูลจริง X และข้อมูลปลอม G(Z)

ภาพที่ 1.  โครงสร้างสถาปัตยกรรมของโครงข่าย Generative Adversarial Networks แสดงให้เห็นการสร้างข้อมูลปลอม G(Z) ขึ้นมาจาก latent variable Z โดย Generator G และการคัดแยกข้อมูลระหว่างข้อมูลจริงและข้อมูลปลอมโดย Discriminator D

ที่มา: Pan et al. (2019)

ดังนั้น GANs จึงมีประโยชน์จากการไม่ต้องกำหนด probability distribution function, สามารถขยายไปใช้กับ high-dimensional data, และ เป็นกระบวนการเรียนรู้แบบ Adaptive Learning คือ deep-learning neural networks สามารถเข้าใจ data distribution ผ่านการ training ทำให้สามารถ “รู้สร้าง” ได้อย่างสมจริงมากขึ้น

ดังโครงสร้างสถาปัตยกรรมตามภาพที่ 2 กระบวนการที่สำคัญประการหนึ่ง คือ Backpropagation ซึ่งเป็นกระบวนการฝึกโครงข่ายประสาทเทียม (neural network training process) ด้วยการป้อนอัตราผิดพลาด (error rates) กลับเข้าไปในโครงข่ายเพื่อให้มีความแม่นยำมากขึ้น โดยจะเปรียบเทียบผลลัพธ์ของโครงข่ายกับผลลัพธ์ที่ต้องการ เพื่อคำนวณข้อผิดพลาด และปรับน้ำหนักของการเชื่อมต่อระหว่าง neurons เพื่อลดข้อผิดพลาดในครั้งต่อไป กระบวนการ Backpropagation มีขั้นตอน คือ (1) ป้อนข้อมูลเข้าสู่โครงข่ายและคำนวณผลลัพธ์, (2) เปรียบเทียบผลลัพธ์ของโครงข่ายกับผลลัพธ์ที่ต้องการและคำนวณข้อผิดพลาด, และ (3) ปรับน้ำหนัก (reweights) ของการเชื่อมต่อระหว่าง neurons เพื่อลดข้อผิดพลาด ตัวอย่างเช่น ความแตกต่างระหว่างค่าจริง คือ  y_{t} และ ค่าที่พยากรณ์ได้ คือ \hat{y}_{t} ในรูปของ Mean Absolute Error (MAE) เป็นต้น

ภาพที่ 2a. กระบวนการ Backpropagation ในการฝึกฝนโครงข่าย Generator

ที่มา: https://developers.google.com/machine-learning/gan/generator

ภาพที่ 2b. กระบวนการ Backpropagation ในการฝึกฝนโครงข่าย Discriminator

ที่มา: https://developers.google.com/machine-learning/gan/discriminator

อีกกระบวนการสำคัญที่ควรกล่าวถึง คือ hyperparameter tuning อันเป็นส่วนสำคัญสำหรับการแก้ปัญหา optimization โดย hyperparameters คือ พารามิเตอร์ที่กำหนดค่าก่อนเริ่มกระบวนการฝึกแบบจำลอง ซึ่งสำหรับแบบจำลองการเรียนรู้เชิงลึก (deep learning models) สามารถมี hyperparameters ได้ตั้งแต่ไม่กี่ตัวจนถึงหลายร้อยตัว ค่าที่กำหนดสำหรับ hyperparameters จะส่งผลต่ออัตราการเรียนรู้ (learning rate) ของแบบจำลอง และตัวควบคุมอื่นๆ ในระหว่างกระบวนการ training เช่น Batch size, จำนวนชั้นโครงข่าย (layers), จำนวนครั้ง (epochs), หรือ การเพิ่มคุณสมบัติพิเศษบางประการโดยผ่าน hyperparameters ของ  Loss function ในการเรียนรู้ข้อมูลที่ผิดปกติ (anomaly detection) เป็นต้น แน่นอนว่า ค่า hyperparameters ที่กำหนด จะส่งผลต่อประสิทธิภาพของแบบจำลองขั้นสุดท้าย (final model) ด้วย

โดยสรุปสำหรับการพยากรณ์ด้วยวิธีทางปัญญาประดิษฐ์ด้วย GANs คือ กระบวนการ training โครงข่าย GANs ทั้งสอง สามารถช่วยให้เราเรียนรู้เกี่ยวกับลักษณะและรูปแบบการกระจายของข้อมูลจริง ซึ่งโครงข่าย Generator จะพยายามสร้างข้อมูลที่มาจาก density cloud ของข้อมูลจริง ในขณะที่โครงข่าย Discriminator พยายามจำแนกข้อแตกต่างเปรียบเทียบกับข้อมูลจริง ช่วยให้กระบวนการคำนวณมีความแม่นยำมากขึ้น

การนำแบบจำลอง GANs มาประยุกต์ใช้ในงานวิจัยทางเศรษฐศาสตร์ ยังมีค่อนข้างน้อย ตามผลการค้นหาโดย Google Scholar ปัจจุบัน คือ ต้นเดือนมกราคม 2567 เกือบทั้งหมดจะเกี่ยวข้องการกับพยากรณ์ข้อมูลอนุกรมเวลา โดยเฉพาะข้อมูลในตลาดหุ้น และ การตรวจสอบโอกาสเกิดวิกฤตหุ้นตกฉับพลันรุนแรง (market crash)

แม้จะมีงานวิจัยเฉพาะทางเศรษฐศาสตร์บ้าง เช่น Professor Susan Athey นักเศรษฐศาสตร์ชั้นแนวหน้าที่ Stanford ได้ตีพิมพ์ใน Journal of Econometrics (Athey S, Imbens G, Metzger J, Munro E; 2021) เพื่อประยุกต์แบบจำลอง GANs สำหรับการจำลองแบบ Monte Carlo เพื่อสร้างข้อมูลที่ใกล้เคียงกับข้อมูลจริง โดยเป้าหมาย คือ เปรียบเทียบแบบจำลองทางเศรษฐมิติและแบบจำลอง machine learning ประเภทต่างๆ สำหรับข้อมูลที่ใช้ศึกษาผลกระทบของนโยบาย (impact evaluation), หรือ มีหนังสือที่เขียนโดย Isaiah Hull (PhD in Economics, Boston College) คือ Machine Learning for Economics and Finance in TensorFlow 2 (2021) ซึ่งในบทที่ 9 มีอธิบายและตัวอย่างแบบจำลอง GANs

ปัจจุบันมีการประยุกต์ใช้แบบจำลองปัญญาประดิษฐ์ประเภท Deep Learning ทางเศรษฐศาสตร์ หรือ โปรแกรม Stata ที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายทางเศรษฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ ก็มีชุดคำสั่งของ Stata ด้าน Machine Learning ในอนาคตเราอาจจะมีโอกาสได้เห็นการประยุกต์แบบจำลอง GANs ใช้ในงานวิจัยทางเศรษฐศาสตร์ เพราะความสามารถในการสร้างข้อมูลใหม่ เช่น

  1. สามารถเพิ่มปริมาณข้อมูล training data ช่วยให้แบบจำลองแม่นยำขึ้น โดยเฉพาะเมื่อข้อมูลจริงมีจำกัด ซึ่งวิธีนี้มีชื่อทางเทคนิคเรียกว่า Data Augmentation
  2. สร้างกลุ่มควบคุมสังเคราะห์ (synthetic control group) ในกรณีที่ไม่มีกลุ่มควบคุมจริง (actual control group) หรือ ช่วยสร้างชุดข้อมูลที่สมดุล (balanced characteristics) เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบของนโยบาย
  3. วิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่ซับซ้อน เช่น ความสัมพันธ์แบบไม่เป็นเส้นตรงระหว่างตัวแปรทางเศรษฐกิจ หรือ วิเคราะห์ผลกระทบของเครือข่ายสังคมและพฤติกรรมต่อการตัดสินใจทางเศรษฐกิจ
  4. สร้างข้อมูลสังเคราะห์ (synthetic data) เพื่อปกป้องข้อมูลส่วนตัว (privacy protection) โดยเฉพาะกรณีที่ข้อมูลทางธุรกิจมีความละเอียดอ่อนหรือต้องการปกปิด

อย่างไรก็ตาม แบบจำลอง GANs ก็มีข้อจำกัดที่สำคัญ คือ การขาดผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง, การฝึกฝน (train) แบบจำลองเป็นเรื่องยากและท้าทาย, และ หากต้องการวิเคราะห์ระบบที่ซับซ้อน ควรจะต้องมีข้อมูลจำนวนมาก ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีความท้าทายทางเทคนิค เช่น mode collapse, การไม่ลู่เข้า (non-convergence) หรือ ความไม่เสถียร (instability) ซึ่งอาจเกิดจากความไม่เหมาะสมของการออกแบบสถาปัตยกรรม, การกำหนดฟังก์ชันวัตถุประสงค์ (objective function), หรือ ปัญหาการเลือก optimization algorithm

แม้อาจจะมีข้อจำกัดหรือความท้าทาย  แต่ศักยภาพของการประยุกต์ใช้แบบจำลอง GANs ในงานวิจัยทางเศรษฐศาสตร์นั้น ยังเป็นพรมแดนความรู้ใหม่ที่กำลังรอให้ค้นหาและพัฒนา ซึ่งอาจจะช่วยให้เราสามารถเข้าใจปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจได้ลึกซึ้งขึ้น  ช่วยออกแบบนโยบายที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น  และ สามารถคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจในอนาคตได้ดีขึ้น ด้วยพลังของปัญญาประดิษฐ์ ความสามารถในการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ และ วิทยาการความรู้ของมนุษยชาติ

ร่วมเสวนา งานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2566

(วันศุกร์ที่ 22 ธ.ค. 66 เวลา 13.20-14.15 น. ตามตารางกำหนดการ)

เสาหลักสำหรับกรอบทิศทางนโยบาย (Policy Statement) ของสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง “หลักประกันรายได้เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ”

(๑) การพัฒนาผลิตภาพประชากร การมีงานทำ และมีรายได้จากการทำงานที่เหมาะสมตลอดช่วงวัย

(๒) เงินอุดหนุนที่เพียงพอต่อการดำรงชีพที่ผู้สูงอายุทุกคนควรได้รับ และบริการสังคมที่จำเป็นจากรัฐ โดยคำนึงถึงความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ การขยายฐานภาษี และ การปฏิรูปงบประมาณ

(๓) การออมระยะยาว การบริหารจัดการการเงินเพื่อยามชราภาพที่เชื่อมโยงทั้งระดับปัจเจกบุคคล ครอบครัว และระดับที่สูงขึ้น โดยมีการออมรวมหมู่ ที่ครอบคลุม เพียงพอ และยั่งยืน

(๔) การเข้าถึงหลักประกันสุขภาพ โดยเฉพาะระบบการดูแลระยะยาว (Long-term care) ระบบการดูแลแบบประคับประคอง (Palliative care) ระบบการตรวจคัดกรองความเสี่ยงและการป้องกันโรคหรือภาวะพึ่งพิงในผู้สูงอายุ และ

(๕) การดูแลและการบริหารจัดการ โดยผู้ดูแลผู้สูงอายุ ครอบครัว ชุมชน และท้องถิ่น

เสาหลักบริบทสภาพความเป็นจริงข้อเสนอตัวชี้วัด
(๑) การพัฒนาผลิตภาพประชากร การมีงานทำ และมีรายได้จากการทำงานที่เหมาะสมตลอดช่วงวัย  – กว่าครึ่งหนึ่งของผู้สูงวัยในไทยอยู่ในกลุ่มอายุ 60-69 ปี เป็นกลุ่มที่เต็มไปด้วยพฤฒิพลัง สามารถดูแลและเดินทางด้วยตนเองได้ แต่ในอนาคตสัดส่วนผู้สูงอายุในไทยมีการปรับขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วผู้
– สูงอายุกว่า 2 ใน 5 ของไทยยังคงทำงานแม้ผ่านวัยเกษียณ โดยผู้ที่ทำงานอยู่ส่วนมาก คือ กลุ่มผู้เป็นนายจ้างตนเอง (self-employed) และกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจครัวเรือนนอกภาคการเกษตร(non-agricultural household enterprises/activities)
- ประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ที่ทำงานอยู่ คือ เกษตรกร มีรายได้จากปริมาณผลผลิตขึ้นอยู่กับราคาสินค้าเกษตร ซึ่งเป็นปัจจัยภายนอกและมีความผันผวนสูง ซึ่งสอดคล้องกับข้อค้นพบของงานวิจัยบำนาญ (ทีปกรและคณะ 2566) ที่ว่า อัตราความยากจนของผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์ทางสถิติกับราคาสินค้าเกษตร ทั้งนี้ กลุ่มลูกจ้าง (employee) ที่ยังทำงานอยู่มีเพียงส่วนน้อย โดยมักจะได้รับค่าจ้างเป็นรายวันหรือรายชิ้น เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีระดับการศึกษาเฉลี่ยไม่สูงมากนัก
- สัดส่วนการจ้างงานผู้สูงอายุ
- เงินโอนอย่างมีเงื่อนไข (conditional cash transfer) เพื่อให้ upskill และ reskill โดยวัดจากสัดส่วนและจำนวนผู้สูงอายุในวัย 60-75 ปี
- การเติบโตของค่าจ้างเปรียบเทียบกับอัตราเงินเฟ้อ การเติบโตผลิตภาพแรงงาน และอัตราการเติบโต GDP
- สัดส่วนและจำนวนการจ้างงานผู้สูงอายุ
(๒) เงินอุดหนุนที่เพียงพอต่อการดำรงชีพที่ผู้สูงอายุทุกคนควรได้รับ และบริการสังคมที่จำเป็นจากรัฐ โดยคำนึงถึงความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ การขยายฐานภาษี และ การปฏิรูปงบประมาณ  - อนาคตประเทศไทยเผชิญความเสี่ยงวิกฤตความยากจนในผู้สูงอายุ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อศักยภาพทางเศรษฐกิจโดยรวม
- ผลการวิเคราะห์ข้อมูลลักษณะทางเศรษฐกิจของประชากรผู้สูงอายุและกลุ่มวัย 40-59 ปี ซึ่งเป็นประชากรรุ่นเกิดปีละหนึ่งล้านคน หรือ กลุ่มสึนามิประชากร แสดงให้เห็นว่า ผู้สูงอายุในปัจจุบันและอนาคต มีความเปราะบางต่อความยากจนสูง ส่วนมากไม่มีความสามารถในการออม เมื่อพิจารณาจากรายได้ ค่าใช้จ่าย และหนี้สิน ในขณะที่คนวัยแรงงานมีรายได้เติบโตไม่ทันค่าครองชีพ
- ปีแรกของโควิด คือ พ.ศ. 2563 มีผู้สูงอายุยากจนพุ่งขึ้นในหลายจังหวัด และกลุ่มยากจนที่สุด คือ ผู้ได้รับผลกระทบจากโควิดมากที่สุด ซึ่งผู้สูงอายุยากจนส่วนใหญ่ไม่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
- ระดับเบี้ยยังชีพขั้นต่ำที่จะช่วยผู้สูงอายุกลุ่มยากจนที่สุดให้พ้นจากความยากจนได้ อยู่ที่ประมาณ 2,000 บาทต่อเดือน
- ต้องคำนึงถึงเส้นความยากจนในอนาคต ซึ่งจะเพิ่มจาก 3,300 บาทต่อเดือนสำหรับกรุงเทพและปริมณฑล และ เกือบ 3,000 บาทสำหรับค่าเฉลี่ยประเทศ อันเป็นการเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากประมาณ 1,500 บาทเมื่อ 2 ทศวรรษก่อน
- ช่องว่างระหว่างบำนาญพื้นฐานและเส้นความยากจน
- อัตราคุ้มครองความยากจน (poverty protection index) ระหว่าง 0-100 คือ 0 = ไม่คุ้มครองเลย และ 100  = คุ้มครองขั้นต่ำที่ระดับเส้นความยากจน, e.g. index=max(100,(pension_rate/poverty_line)*100)
(๓) การออมระยะยาว การบริหารจัดการการเงินเพื่อยามชราภาพที่เชื่อมโยงทั้งระดับปัจเจกบุคคล ครอบครัว และระดับที่สูงขึ้น โดยมีการออมรวมหมู่ ที่ครอบคลุม เพียงพอ และยั่งยืน  – เราไม่มีระบบบังคับออม
– ระบบออมที่มี ไม่เพียงพอ แม้จะพยายามพัฒนาแล้ว
– หนี้สินเป็นปัจจัยที่กดดันความสามารถในการเก็บออมเพื่อวัยเกษียณ
– คนจำนวนมาก ทำงานทั้งชีวิตไม่สามารถลืมตาอ้าปากได้ ส่งต่อความยากไร้ให้รุ่นต่อไป เช่น bottom10%  
– สัดส่วนและมูลค่าการออม
– การมีระบบบังคับออม
– การมีระบบฐานข้อมูล
(๔) การเข้าถึงหลักประกันสุขภาพ โดยเฉพาะระบบการดูแลระยะยาว (Long-term care) ระบบการดูแลแบบประคับประคอง (Palliative care) ระบบการตรวจคัดกรองความเสี่ยงและการป้องกันโรคหรือภาวะพึ่งพิงในผู้สูงอายุ  – เชิงโครงสร้างหรือระบบ น่าจะยังไม่ชัดเจน เช่น คนรุ่นผมเอง หลายคนที่ชีวิตเป็นชนชั้นกลางระดับบน (เช่น 99.5th percentile, given 50th percentile consumption = 6,000 THB/month/head) ยังไม่ทราบว่า จะทำอย่างไรยามเกษียณ– ขยายความจาก UHC
– น่าจะติดตามความก้าวหน้าสิทธิของ สปสช. ซึ่ง สปสช. กำลังพยายามพัฒนาโดยตลอดมา
(๕) การดูแลและการบริหารจัดการ โดยผู้ดูแลผู้สูงอายุ ครอบครัว ชุมชน และท้องถิ่น– ครัวเรือนไทยกว่าร้อยละ 60 มีผู้สูงอายุ
– ค่อนข้างยากสำหรับผู้สูงอายุโดดเดี่ยว เช่น ปี 2020 ร้อยละ 10 อยู่เพียงลำพัง และ ร้อยละ 20 อยู่กับคู่สมรส รวมเป็นร้อยละ 30 ของผู้สูงอายุ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
– สัดส่วนและจำนวนผู้สูงอายุ
– ชุมชน และ อสม.
– น่าจะสัมพันธ์กับข้อ (๔)

คานงัด = จังหวะทางการเมือง

บทความ

อีกครั้งสำหรับการพัฒนาบำนาญผู้สูงอายุเพื่อระบบเศรษฐกิจที่เป็นธรรม

เมื่อวันพฤหัสที่ 21 ธ.ค. วันเปิดงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 16 ได้มีการยื่นเสนอกฎหมายร่างพระราชบัญญัติผู้สูงอายุและบำนาญพื้นฐานแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ที่อาคารรัฐสภา โดยเครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ เครือข่ายรัฐสวัสดิการเพื่อความเท่าเทียมและเป็นธรรม (We Fair) เครือข่ายสลัมสี่ภาค เครือข่ายองค์กรผู้บริโภค เครือข่ายผู้ติดเชื้อฯ และประชาชนทั่วไป ร่วมกันยื่น 43,826 รายชื่อ ต่อคุณวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร คุณปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง และคุณณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ ประธานกรรมาธิการการสวัสดิการสังคม

เป็นความพยายามอีกครั้งของภาคประชาชนที่พยายามขับเคลื่อนระบบหลักประกันรายได้และคุ้มครองความยากจนผู้สูงอายุ

เป็นความพยายามที่เต็มเปี่ยมด้วยจิตใจของการต่อสู้ หลังจากที่โดนปัดตก นั่งทับ หรือ “มีบัญชาไม่รับรอง” ข้อเสนอร่าง พรบ.บำนาญผู้สูงอายุ จากอย่างน้อย 5 ครั้งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

เป็นความพยายามที่จะผลักดันขับเคลื่อนให้เป็นสังคมที่มีความเป็นธรรม อันสะท้อนเสียงความต้องการของประชาชนต่อนโยบายผู้ชนะการเลือกตั้งที่ได้คะแนนเป็นอันดับหนึ่ง เป็นเสียงความต้องการของสังคมผ่านกระบวนการสมัชชาสุขภาพแห่งชาติที่ต้องการหลักประกันรายได้ยามสูงวัย และเป็นเสียงความต้องการของประเทศผ่านแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เช่น “ความอยู่ดีมีสุขของคนไทยและสังคมไทย” และ “ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและการกระจายรายได้”

สำหรับผู้เขียนแล้ว คือ เรื่องการต่อสู้เพื่อแย่งชิงทรัพยากรทางเศรษฐกิจกลับคืนมา ไม่แตกต่างจากการต่อสู้ของแรงงานเรื่องวันลาคลอด เมื่อปี 2536 หรือ 3 ทศวรรษที่แล้ว แรงงานหญิงมีครรภ์ที่ต้องออกไปประท้วง อดข้าว และ กรีดเลือด จนได้สิทธิวันลาคลอดได้เพิ่มขึ้นจากเดิม 60 วัน เป็น 90 วัน อันทำให้แรงงานหญิงที่ทำงานออฟฟิศ ได้รับอานิสงค์ผลบุญไปด้วย

ประเทศไทยพัฒนาเศรษฐกิจโดยการกดขี่ขูดรีดแรงงาน และ การเอารัดเอาเปรียบโดยกลุ่มทุน โดยเฉพาะไม่กี่ตระกูลบนยอดปีรามิด อันครอบคลุมชีวิตคนไทยในทุกมิติ แน่นอนว่า การลดความเหลื่อมล้ำจะต้องอาศัยแรงขับเคลื่อนโดยตรงจากภาคการเมือง หรือผู้ที่จะมีอำนาจในการตัดสินใจเชิงนโยบาย เพื่อให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม อันจะนำไปสู่ข้อสรุปที่มีความสมเหตุผลทางเศรษฐศาสตร์และทางศีลธรรม

การจัดสรรทรัพยากรให้เป็นธรรมมากขึ้น จะสามารถปรากฏเป็นจริงได้ จึงขึ้นอยู่กับความมุ่งมั่นจริงจังของรัฐบาล โดยเราสามารถมีงบประมาณสำหรับระบบสวัสดิการคนไทยและการลงทุนในอนาคตของประเทศ โดยการเพิ่มรายได้จากภาษี และปฏิรูปการใช้จ่ายงบประมาณ ตลอดจนสมทบการออมในวัยทำงาน ตามข้อเสนอและรายงานการศึกษามากมายจากนักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำ และ องค์การระหว่างประเทศหลายหน่วยงาน ตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา

รายงานในปีนี้ของธนาคารโลกเรื่อง “การประเมินรายได้และรายจ่ายภาครัฐของประเทศไทย – การส่งเสริมอนาคตที่ทั่วถึงและยั่งยืน” จึงเสนอให้ประเทศไทยสามารถปฏิรูปเศรษฐกิจให้มีความเท่าเทียมและความยืดหยุ่น (resilience) มากขึ้นได้ โดย

1. เพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายภาครัฐ

2. เพิ่มการจัดเก็บรายได้ภาครัฐ และ

3. ช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางและนโยบายรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปฏิรูปภาษี “แบบก้าวหน้า” เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับการใช้จ่ายภาครัฐที่จะเพิ่มสูงขึ้น เพราะการเข้าสู่สังคมสูงวัย จะเพิ่มค่าใช้จ่ายในด้านบำนาญ สวัสดิการผู้สูงอายุ และสวัสดิการรักษาพยาบาล ซึ่งจะเป็นข้อจำกัดของการเติบโตทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญต่อการเพิ่มงบประมาณภาครัฐด้านความช่วยเหลือทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง งบประมาณด้านสวัสดิการ ซึ่งรวมถึงเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ อยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานสากลหรือเมื่อเปรียบเทียบกับภายในภูมิภาค

ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เคยกล่าวในปาฐกถาว่า อนาคตของเศรษฐกิจไทย จำเป็นต้องกระจายอย่างทั่วถึง (inclusive) ไม่ใช่เติบโตแบบกระจุกอยู่เพียงบางกลุ่มคน บางธุรกิจ หรือ บางพื้นที่ ทำให้เศรษฐกิจมีความเปราะบาง เราจำเป็นต้องเปลี่ยนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เราจะเผชิญแรงกดดันจากการทำลายล้างทางดิจิทัล (digital disruption) และ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  (climate change) ดังนั้น ถ้าเราไม่ทำให้การเจริญเติบโต (growth) สามารถแบ่งปันกันในวงกว้าง เราจะไม่สามารถเติบโตต่อไปได้อย่างยั่งยืน

ศาสตราจารย์ ดร.ผาสุก พงษ์ไพจิตร คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคยเสนอแนะแนวทางการพัฒนาระบบภาษีและการปฏิรูประบบงบประมาณ โดยเราสามารถมีแหล่งรายได้ที่สำคัญสำหรับพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไทย ได้แก่

1. จัดระบบความสำคัญก่อนหลังในการจัดสรรงบประมาณประจำปี  กล่าวคือ ลดงบที่ไม่จำเป็นและไม่เกิดประโยชน์ต่อประชาชน

2. ยกเลิกสิทธิพิเศษและค่าลดหย่อนทางภาษีสำหรับมหาเศรษฐีและกลุ่มทุนขนาดใหญ่ เช่น BOI และ Capital Gain Tax

3. เก็บภาษีเพิ่มจากส่วนต่างของกำไรที่ได้จากการขายหลักทรัพย์และที่ดิน

4. ปรับการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้มีประสิทธิภาพ

5. ลดเกณฑ์ยกเว้นภาษีการรับมรดกที่มูลค่า 100 ล้านบาท ส่งผลให้ผู้ที่ได้รับมรดกไม่ถึง 100 ล้านบาท ก็จะได้รับการยกเว้นภาษี ควรจะปรับลดลงมาให้สมเหตุสมผลมากกว่านี้

6. เพิ่มอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล และ อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม เพราะอัตราต่ำเกินไปเมื่อเทียบกับสากล

7. ปรับระบบภาษีเงินได้ ไม่ว่าจะมาจากแหล่งใดก็ตามต้องเสียภาษีในอัตราเดียวกันหมด ไม่ใช่เหลื่อมล้ำกันระหว่างภาษีรายได้ที่จัดเก็บจากเงินเดือน เงินปันผล กำไร หรือ ที่ดิน ซึ่งโดยเฉลี่ยคนรวยเสียภาษีในอัตราต่ำกว่ามนุษย์เงินเดือน

8. หน่วยงานของรัฐที่ถือครองที่ดินมากเกินจำเป็นและไม่ได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ ควรนำมาให้ประชาชนเช่าทำมาหากิน เมื่อประชาชนมีฐานะดีขึ้น รัฐจะเก็บภาษีได้มากขึ้น

ในส่วนของภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ปีนี้ธนาคารโลกยืนยันเสนอหลายครั้งผ่านสื่อให้ขึ้น VAT เป็น 10%  ตามรายงาน “การประเมินรายได้และรายจ่ายภาครัฐของประเทศไทย – การส่งเสริมอนาคตที่ทั่วถึงและยั่งยืน” โดยผู้เขียนเห็นว่า ควรทำ earmarked คือ เก็บเพิ่มเอามาใช้จ่ายตรงให้เป็นประโยชน์กับประชาชน และ ต้องควบคุมการฉวยโอกาสขึ้นราคาของนายทุนที่ยึดกุมธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง

แน่นอนว่า ประเทศไทยก็ยังมีโอกาสเลือกทิศทางที่มีเป้าหมายพัฒนาเศรษฐกิจให้เป็นธรรม ไม่ใช่กระจุกทรัพยากรและโอกาสเพียงแค่คนส่วนน้อยบนยอดปีรามิด แบบคนส่วนใหญ่ทำงานทั้งชีวิตก็ไม่มีโอกาสได้ลืมตาอ้าปาก ทั้งที่ร่วมจ่ายภาษีการบริโภคมาตลอด ในขณะที่ตระกูลรวยสุดกอบโกยด้วยการเอารัดเอาเปรียบจากการผูกขาดและมีอำนาจเหนือตลาด เพราะเราคงไม่อยากจะเห็นภาพที่ความเหลื่อมล้ำสะสมมากเข้า จนในที่สุดกลายเป็นโศกนาฏกรรมตามประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ

ในเมื่อประเทศไทยจำเป็นต้องหาแหล่งรายได้เพิ่มขึ้นสำหรับงบบำนาญข้าราชการและงบรักษาพยาบาลข้าราชการที่จะพุ่งขึ้นในอนาคต ก็ควรจะเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส โดยใช้หลักวิชาการทางการคลัง ทั้งด้านงบประมาณและภาษีเพื่อแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างด้านความเหลื่อมล้ำของประเทศ ช่วยสร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ เป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยด้วยระบบสวัสดิการ และ เป็นเส้นทางอันพึงปรารถนาของการพัฒนาที่ยั่งยืนและปรองดอง

ขอบคุณสื่อที่กรุณาช่วยลงเผยแพร่บทความ “อีกครั้งสำหรับการพัฒนาบำนาญผู้สูงอายุเพื่อระบบเศรษฐกิจที่เป็นธรรม”

https://www.matichon.co.th/article/news_4391899

https://www.isranews.org/article/isranews-article/124930-National-Basic-Pension-ACT-opinion.html

https://www.naewna.com/politic/columnist/57565

https://mgronline.com/qol/detail/9660000114658

https://prachatai.com/journal/2024/01/107600

https://www.thecoverage.info/news/content/5974

https://nakornchiangrainews.com/developing-elderly-pensions-for-a-fair-economy

ประเทศไทยกำลังเดินถอยหลังเรื่องความคุ้มครองความยากจนผู้สูงอายุ

ดร.ทีปกร จิร์ฐิติกุลชัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เหตุผลหลักที่ต้องการตัดลดงบประมาณ “เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ” ก็เพราะว่า รัฐบาลไม่ต้องการแตะโครงสร้างความเหลื่อมล้ำ นั่นคือ ไม่ต้องการเก็บภาษีจากคนรวย เพื่อทำให้สังคมเป็นธรรมมากขึ้น ทั้งที่มีข้อเสนอเรียกร้องจากทั้งจากภาคประชาชน ภาควิชาการ และ ภาคการเมือง ก็ถูกตีตก หรือ รัฐบาลเจตนานั่งทับไว้ เพราะกลัวว่า คนกลุ่มน้อยที่กอบโกยผลประโยชน์บนยอดปีรามิด จะเสียประโยชน์ โดยไม่ได้คำนึงว่า อนาคตประเทศไทยจะอยู่กันต่อไปอย่างไร

ศูนย์กลางเครือข่ายระบอบอำนาจของไทยจะไม่คิดแบ่งปันออกมาให้คนส่วนใหญ่ในประเทศอย่างเป็นธรรมบ้างหรือ? ไม่กี่ตระกูลกอบโกยไปอย่างมหาศาลในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ผ่านการสมประโยชน์กันของเครือข่าย กลุ่มทุน และ ภาครัฐที่ยึดกุมอำนาจอยู่ โดยมีการควบคุมความคิดผ่านสื่อที่สนับสนุนจีนและรัสเซีย จนทำให้กลุ่มคนเสียงดังในสังคมมีข้อมูลที่บิดเบือน เช่น ทั้งประเทศจ่ายภาษีแค่ 4 ล้านคน

แน่นอนว่า เราไม่สามารถแยกเรื่องโครงสร้างระบอบอุปถัมภ์ออกจากการเมืองเรื่องจัดตั้งรัฐบาล และ การกดขี่ขูดรีดแรงงานและการเอารัดเอาเปรียบทางเศรษฐกิจจากคนไทย ดังนั้น คงจะไม่แปลกใจหากวันหนึ่งความโกรธแค้นของประชาชนเรื่องความเหลื่อมล้ำและความอยุติธรรม จะปะทุออกมาในที่สุด

ประเด็นความสัมพันธ์เรื่อง “ความเหลื่อมล้ำ” และ “ความขัดแย้งทางการเมือง” นี้ ผู้เขียนได้เคยพูดคุยแลกเปลี่ยนในการประชุมร่วมกับเจ้าหน้าที่จากสำนักข่าวกรองแห่งชาติ จึงขอนำเรียนตรงนี้อีกครั้งด้วยความซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพเศรษฐศาสตร์ เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้โปรดตระหนักว่า ตามประวัติศาสตร์มนุษยชาติได้พิสูจน์แล้ว “เมื่อความเหลื่อมล้ำรุนแรงมาก สักวันหนึ่งก็ต้องเผชิญวิกฤตขัดแย้งรุนแรง”

เรื่องระบบสวัสดิการคุ้มครองความยากจนผู้สูงอายุ แม้จะมีงานวิจัยแสดงให้เห็นว่า ถึงจะเป็นเบี้ยยังชีพเดือนละ 3 พันบาท ก็ยังใช้งบประมาณน้อยกว่างบบำนาญข้าราชการในระยะยาว ในที่สุดแล้ว เมื่องบประมาณสำหรับบำนาญข้าราชการจะพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วน่ากังวล เราก็ควรที่จะใช้โอกาสนี้ในการจัดสรรทรัพยากรให้เป็นธรรม ตามข้อเสนอทางเศรษฐศาสตร์ที่มีมากมาย เพื่อให้มีงบประมาณสามารถคุ้มครองความยากจนผู้สูงอายุได้ทั้งสังคม แต่ข้อเท็จจริง คือ รัฐบาลไม่ยอมทำ ดังนั้น การตั้งเป้าหมายตัดลดงบประมาณเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ จึงเป็นการเดินถอยหลังของประเทศ

ท้ายสุดนี้ ขอชวนอ่านบทความหรือการนำเสนอก่อนหน้านี้ของผู้เขียนเองเกี่ยวเรื่องความยากจนผู้สูงอายุ ซึ่งขณะนี้เรากำลังอยู่ตรงช่วงเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อว่า จะปล่อยให้ประเทศเต็มไปด้วยคนจนผู้สูงอายุเต็มประเทศในอีก 10-20 ปีข้างหน้า และเต็มไปด้วยปัญหาสังคมที่เกิดจากคนจนล้นประเทศ หรือ รัฐบาลอยากจะวางรากฐานมั่นคงแข็งแรงให้เป็นสังคมที่ปรองดองและเป็นธรรม

ชวนอ่านเพิ่มเติม

EAT THE RICH เพื่อระบบเศรษฐกิจที่เป็นธรรม

ความยากจนผู้สูงอายุ: ปัญหาท้าทายของประเทศไทย

ระบบบำนาญแห่งชาติที่มีความเป็นธรรมและยั่งยืน

เวทีเสวนาฯชงรีดภาษีมั่งคั่ง-ขึ้นVat หางบโปะ‘บำนาญแห่งชาติ’-ห่วง‘รุ่นเกิดล้าน’แก่แล้วจน

จี้เลิกลดหย่อนภาษีคนรวย-เจ้าสัว! ‘ภาคปชช.’เคลื่อนไหวผลักดัน‘บำนาญถ้วนหน้า’ 3 พันบาท/ด.

แหล่งรายได้สำหรับระบบหลักประกันรายได้เพื่อป้องกันวิกฤตสังคมผู้สูงอายุ

Photo: MGR Online

ขอบคุณสื่อที่ช่วยกรุณาเผยแพร่บทความ “ประเทศไทยกำลังเดินถอยหลังเรื่องความคุ้มครองความยากจนผู้สูงอายุ” หรือ บทสัมภาษณ์ เพื่อช่วยขับเคลื่อนความเป็นธรรมในสังคมไทย

Thailand’s Poor and Elderly Agonize Over State Welfare Cuts

https://www.thailandstidende.com/component/k2/item/4729-lovet-stor-pensjonsokning-i-valgkampen-na-blir-det-kutt-isteden

https://theactive.net/data/welfare-finance-question/

https://www.naewna.com/local/750188

https://www.isranews.org/article/isranews-news/120997-gov-old-age-allowance-news.html

https://btimes.biz/whatsup/%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%9B%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B9%89/

https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_4130509

https://www.thecoverage.info/news/content/5266

https://www.hfocus.org/content/2023/08/28191

https://www.isranews.org/article/isranews-article/120993-isranews-174.html

https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88/203289/amp

The Successes of Strategic Purchasing for UHC in Thailand

‘ม.ธรรมศาสตร์’ เปิดเวทีวิชาการ

นำเสนอความสำเร็จของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

ผลักดัน การจัดซื้อเชิงกลยุทธ์’ สู่ภูมิภาคอาเซียน

          คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จับมือมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ เปิดวงเสวนาวิชาการนานาชาติระดับอาเซียน ร่วมแลกเปลี่ยนความสำเร็จของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า วิทยากรเห็นพ้อง ‘การจัดซื้อเชิงกลยุทธ์’ คือ หนึ่งในกลไกสำคัญของ สปสช. ที่ทั่วโลกยอมรับและยกย่อง ‘ระบบหลักประกันสุขภาพ’ ของประเทศไทย

คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ School of Public Health มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ จัดเวทีประชุมวิชาการนานาชาติภายใต้หัวข้อ “The Successes of Strategic Purchasing for UHC in Thailand” เมื่อเช้าวันที่ 1 มิถุนายน 2566 ณ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ และ ถ่ายทอดสดผ่าน Facebook และ YouTube EconTU Official โดยมีนักวิชาการ ผู้บริหารและผู้กำหนดนโยบายระบบสาธารณสุข ตลอดจนผู้สนใจในระดับภูมิภาคอาเซียนเข้าร่วมรับชมรับฟังประมาณ 100 ท่าน

ผศ.ดร.ศุภชัย ศรีสุชาติ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มธ. กล่าวเปิดการเสวนาตอนหนึ่งว่า เส้นทางของประเทศไทยด้านระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือ Universal Health Coverage (UHC) เป็นเรื่องที่น่ายกย่อง มีการขับเคลื่อนโดยผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ และมีความพยายามที่ไม่สิ้นสุด ด้วยความมุ่งมั่นที่จะทำให้ทุกคนมีสิทธิ์ในการเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ การจัดซื้อในลักษณะเชิงกลยุทธ์ (Strategic Purchasing) เป็นวิธีการจัดสรรทรัพยากรของระบบสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพ มีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้สามารถบรรลุเป้าหมายด้านสาธารณสุขได้ จนประเทศไทยเป็นตัวอย่างที่ได้รับการยกย่องในระดับโลก

ที่ประชุมมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความคิดเห็น และข้อเสนอแนะเรื่อง “ความสำเร็จของการจัดซื้อเชิงกลยุทธ์สำหรับระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของประเทศไทย” โดยได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิ ร่วมอภิปรายในการประชุมดังกล่าว ประกอบด้วย 1. ศ.ดร.นพ.ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย ประธานมูลนิธิศูนย์วิจัยและติดตามความเป็นธรรมทางสุขภาพ  2. พญ.ลลิตยา กองคำ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  3. คุณสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค  4. ดร.นพ.ปิยะ หาญวรวงศ์ชัย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  5. คุณคณิตศักดิ์ จันทราพิพัฒน์ ผู้อำนวยการกลุ่มภารกิจสนับสนุนการเข้าถึงบริการปฐมภูมิและส่งเสริมป้องกันโรค สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

ศ.ดร.นพ.ศุภสิทธิ์ กล่าวว่า ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1982 และตลอดจนทศวรรษ 1990 มีการศึกษาเกี่ยวกับการเงินสำหรับระบบสาธารณสุขของประเทศไทย ผลการศึกษาสรุปว่า ค่ารักษาพยาบาลที่ครัวเรือนต้องจ่ายเองสูงเกินไป รัฐบาลจึงได้พยายามพัฒนาความคุ้มครองสุขภาพสำหรับทุกคน ทำให้ต้องมีงบประมาณเพิ่มขึ้น ในเวลานั้นระบบการจ่ายเงินค่อนข้างกระจัดกระจายอย่างมาก ดังนั้น จึงได้ปรับปรุงกลไกการเงินจนเป็นวิธี “การจัดซื้อเชิงกลยุทธ์” ในปัจจุบัน โดยมีการใช้รูปแบบการจัดซื้อแบบเหมาจ่ายรายหัว (capitation) สำหรับบริการผู้ป่วยนอก การเหมาจ่ายตามกลุ่มโรคด้วยราคากลาง (Diagnosis-related group: DRG) สำหรับบริการผู้ป่วยใน และการจ่ายตามบริการที่ให้ (fee for service) สำหรับการป้องกันและส่งเสริมสุขภาพ

คุณสารี กล่าวว่า ก่อนมีระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเกิดขึ้นในประเทศไทย มีการพยายามต่อสู้ผลักดันอย่างมาก เพราะระบบแบบเดิมได้ทำให้ครัวเรือนต้องล้มละลายจากค่ารักษาพยาบาล จึงได้มีการเคลื่อนไหวจนสำเร็จเป็น พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ซึ่งเป็นการประกันความยั่งยืนของระบบ ตั้งแต่นั้นมา จึงได้มีการเคลื่อนไหวในทิศทางที่เชื่อมโยงกันระหว่างภาคนักวิชาการ ภาคนโยบาย องค์กรไม่แสวงผลกำไร (NGOs) และภาคีเครือข่ายประชาชน โดยมีตัวแทนจากภาคประชาชนเข้าร่วมในคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติอีกด้วย

ดร.นพ.ปิยะ กล่าวว่า ประเทศไทยได้มีการพัฒนาเครื่องมือที่สำคัญมาใช้เพื่อปรับปรุงระบบการเงินสุขภาพ ได้แก่ การวิเคราะห์ต้นทุนของโรงพยาบาล และระบบทะเบียนข้อมูลที่อ้างอิงจากเลขบัตรประจำตัวประชาชน โดยเราได้ลงทุนในงานวิจัยที่มีการพัฒนากลไกให้สามารถเชื่อมโยงกับการกำหนดนโยบาย

พญ.ลลิตยา กล่าวว่า สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) มีความพยายามอย่างไม่หยุดยั้งที่จะพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อทำให้ประชาชนได้รับสวัสดิการการรักษาพยาบาลภายใต้งบประมาณจำกัดแต่มีประสิทธิภาพ โดย สปสช. มีกลไกการจัดเก็บข้อมูลที่โรงพยาบาลจะนำส่งข้อมูลเพื่อเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล ทำให้สามารถมีข้อมูลที่ใช้ในการคำนวณค่าใช้จ่ายสุขภาพที่มีรูปแบบของการกระจายความเสี่ยงหรือเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุข

คุณคณิตศักดิ์ กล่าวว่า ประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพระดับปฐมภูมิสำหรับผู้ป่วย เป็น gatekeeper ที่ช่วยคัดกรองเพื่อส่งต่อไปยังโรงพยาบาลที่ให้บริการระดับสูง ในแต่ละภูมิภาคจะมีโรงพยาบาลที่สามารถให้บริการด้านสุขภาพเฉพาะทาง และยังสามารถส่งต่อไปยังโรงพยาบาลระดับมหาวิทยาลัยได้ด้วย โดยหน่วยการดูแลสุขภาพระดับปฐมภูมิยังทำงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อช่วยกันดูแลคุ้มครองสิทธิประชาชนให้เข้าถึงบริการที่จำเป็น ยิ่งไปกว่านั้น สปสช. ได้พัฒนารวบรวมและใช้ประโยชน์จากระบบฐานข้อมูล เพื่อตรวจสอบและสามารถสะท้อนต้นทุนและการเบิกจ่ายเงินของ สปสช.

ดร.นพ.ปิยะ ยังกล่าวด้วยว่า หนึ่งในจุดแข็งของระบบสุขภาพในประเทศไทย คือ การคิดวิเคราะห์อย่างใส่ใจที่จะใช้กลไกการจัดซื้อเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ซื้อและผู้ให้บริการ ยิ่งไปกว่านั้น สปสช. ยังมีความยืดหยุ่นในความพยายามพัฒนากลไกการชำระเงินและเรียนรู้อย่างต่อเนื่องจากข้อมูลเพื่อปรับปรุงระบบให้ดียิ่งขึ้น

พร้อมกันนี้ วิทยากรในเวทียังเห็นพ้องในหลักการร่วมกันว่า สปสช. มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง (NHSO has the consumer at heart) และสามารถได้รับความเชื่อถือไว้วางใจจากสังคม โดยมีระบบหลักประกันสุขภาพที่เข้มแข็งด้วยกฎหมายและนโยบาย เป็นระบบที่มีความมั่นคงสำหรับประชาชน มีการรับฟังเสียงจากประชาชนซึ่งมีความสำคัญและเป็นนวัตกรรมของระบบสาธารณสุขของประเทศ อย่างไรก็ตาม ระบบสุขภาพในประเทศไทยยังมีพื้นที่ในการปรับปรุงและพัฒนาต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลไกการเงินที่แตกต่างกันในแต่ละระบบหลักประกันสุขภาพ

ประเทศไทยได้รับความสำเร็จอย่างมากในการพัฒนากลไกการจัดซื้อเชิงกลยุทธ์และเป็นผู้นำในภูมิภาคอาเซียนในเรื่องระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (UHC) ดังนั้น การเรียนรู้แลกเปลี่ยนร่วมกัน จึงเป็นประโยชน์ต่อทุกประเทศในอาเซียนในการพัฒนาระบบสาธารณสุขเพื่อประโยชน์สูงสุดด้านสุขภาพของประชาชนในภูมิภาค

ในที่ประชุมยังคาดหวังที่จะเห็นความร่วมมือกันในระดับภูมิภาคอาเซียนต่อไป เพื่อสนับสนุนแต่ละประเทศในการกำหนดลำดับความสำคัญของการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพด้านต้นทุน และ สร้างผลลัพธ์ด้านสุขภาพที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

#EconTU #EconTUajarn #เศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์

9:00 – 9:05 AM: Welcome and event opening speech (Dr Supachai Srisuchart – Dean, Faculty of Economics, Thammasat University)

9:05 – 9:15 AM: Background on the “Strategic Health Purchasing in ASEAN” project (Dr Jeremy Lim – Saw Swee Hock School of Public Health, National University of Singapore)


9:15 – 9:25 AM: Overview of the health financing schemes in Thailand (Dr Theepakorn Jithitikulchai – Faculty of Economics, Thammasat University)

9:25 – 10:30 AM: Panel dialogue (Moderator: Dr Khor Swee Kheng – Saw Swee Hock School of Public Health, National University of Singapore)

Speakers:

  • Dr Lalitaya Kongkam – Deputy Secretary-General, National Health Security Office
  • Dr Piya Hanvoravongchai – Program Director, Equity Initiative
  • Saree Aongsomwang – Secretary-General, Thailand Consumers Council
  • Dr Supasit Pannarunothai – Chair, Centre for Health Equity Monitoring Foundation
  • Kanitsak Chantrapipat – Director, Primary Care Service Support and Health Promotion and Disease Prevention Division, National Health Security Office

ศ.ดร.นพ.ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย      ประธานมูลนิธิศูนย์วิจัยและติดตามความเป็นธรรมทางสุขภาพ

พญ.ลลิตยา กองคำ       รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

คุณสารี อ๋องสมหวัง       เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค

ดร.นพ.ปิยะ หาญวรวงศ์ชัย              อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คุณคณิตศักดิ์ จันทราพิพัฒน์            ผู้อำนวยการ ฝ่ายสนับสนุนการเข้าถึงบริการปฐมภูมิ และการสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรค สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

ร่วมนำเสนอ Overview of the health financing schemes in Thailand โดย ดร.ทีปกร จิร์ฐิติกุลชัย อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ดำเนินรายการโดย Dr.Khor Swee Kheng จาก Saw Swee Hock School of Public Health, National University of Singapore

รับชมวิดีโอย้อนหลังได้ที่: https://www.youtube.com/live/2SgXjuuc928?feature=share

ดาวน์โหลดเอกสารนำเสนอได้ที่: https://drive.google.com/drive/folders/1WKk0FSmUAQ7VU91JT3GcoHC_yqCNBal2?usp=sharing

รับชมภาพเพิ่มเติมได้ที่: https://drive.google.com/drive/folders/18PrirknV0qUXEF2WQ_7g01FIaixqmOh6?usp=sharing

ข้อเสนอพรรคการเมืองเรื่องนโยบายสวัสดิการผู้สูงอายุ

ขอบพระคุณที่ได้มาสนทนาแลกเปลี่ยน ได้เรียนรู้มุมมองในหลาย ๆ ด้าน โดยหวังว่า คำถามต่าง ๆ จะเป็นประโยชน์ที่ช่วยให้พัฒนานโยบายที่ถูกใจและเป็นประโยชน์ต่อประชาชนมากยิ่งขึ้น และถูกต้องตามหลักวิชาเศรษฐศาสตร์ครับ
.
[Press Release]
ดร.ทีปกร จิร์ฐิติกุลชัย อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มธ. หนึ่งในสองผู้ดำเนินการบนเวที Policy Dialogue ครั้งนี้ ได้สรุปตอนท้ายว่า การสร้างระบบหลักประกันรายได้ให้กับผู้สูงอายุ เป็นสวัสดิการแบบถ้วนหน้า ไม่ใช่ระบบสงเคราะห์คนกลุ่มเฉพาะเจาะจง นับเป็นเรื่องหนึ่งที่อยู่ในการพูดคุยมาตลอดระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา โดยมีข้อเสนอทางวิชาการมากมาย บนความสมเหตุผลทางเศรษฐศาสตร์ว่าประเทศไทยควรจะมีอะไรบ้าง เพื่อคุ้มครองความยากจนสำหรับผู้สูงวัย

“เราต้องเข้าใจสภาพปัญหาของประเทศนี้ มีคนจำนวนมากยังต้องทำงานทั้งชีวิตโดยที่มีรายได้ไม่เพียงพอกับค่าครองชีพ ยิ่งทำงานก็ยิ่งจนลงเมื่อเทียบกับอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงย้อนกลับไปสู่โจทย์ว่าเราจะทำอย่างไรให้ระบบบำนาญแห่งชาติเกิดขึ้นได้จริง หรือเป็นไปได้ และสามารถเปลี่ยนแปลงประเทศได้ในการเลือกตั้งครั้งนี้ จึงดีใจที่ได้เห็นแนวคิดที่สอดคล้องจากหลายพรรคการเมือง และหวังว่าจะเกิดการผลักดันขับเคลื่อนเรื่องนี้ของรัฐบาลและในสภาต่อไปอย่างจริงจัง” ดร.ทีปกร ระบุ
.
สามารถรับชมย้อนหลังครับ
https://lnkd.in/gP5-Zwgt

https://www.nationalhealth.or.th/th/node/4298
https://www.hfocus.org/content/2023/04/27570
https://www.dailynews.co.th/news/2270856/
https://www.nationtv.tv/news/social/378913598
https://www.isranews.org/article/isranews-scoop/118239-isranews-324-2.html
https://www.thansettakij.com/thailand-elections/election-monitor/563625
https://thecitizen.plus/node/79701
https://www.banmuang.co.th/news/region/326577
https://mgronline.com/politics/detail/9660000039358
https://www.thecoverage.info/news/content/4870
https://www.thereporters.co/tw-politics/2904231226/
https://www.naewna.com/politic/727641
https://www.banmuang.co.th/news/region/326577
http://innews.news/news.php?n=38943
https://www.bangkokbiznews.com/health/public-health/1065997
https://tu.ac.th/thammasat-020566-policy-dialogue-2nd

https://www.isranews.org/article/isranews-news/118281-TU-economist-national-pension-news.html
https://prachatai.com/journal/2023/05/103921

เอกสารประกอบเวทีเสวนาและภาพถ่าย เวทีเสวนาวิชาการหัวข้อ “ระบบบำนาญแห่งชาติเพื่อความเป็นธรรมและยั่งยืน สู่นโยบายพรรคการเมืองด้านระบบความคุ้มครองทางสังคมในผู้สูงอายุ”

เอกสารประกอบเวทีเสวนาและภาพถ่าย

https://drive.google.com/drive/folders/19bw1R8_5sFDZBCinrj-SCPf5YonLu8J

บันทึกจากงาน “ระบบบำนาญแห่งชาติเพื่อความเป็นธรรมและยั่งยืน: สู่นโยบายพรรคการเมืองด้านระบบความคุ้มครองทางสังคมในผู้สูงอายุ”

(สรุปความจากบันทึกระหว่างประชุม)

ความสำเร็จจะเกิดขึ้นได้อยู่ที่การสร้างเจตนารมณ์ทางสังคม จนเกิดเป็นเจตนารมณ์ทางการเมือง แล้วเกิดการตัดสินใจและดำเนินการเชิงนโยบายของประเทศในที่สุด

เมื่อวันที่ 23 มี.ค.ที่ผ่านมา คณะเศรษฐศาสตร์และศูนย์วิจัยความเหลื่อมล้ำและนโยบายสังคม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) จัดเวทีเสวนาวิชาการหัวข้อ “ระบบบำนาญแห่งชาติเพื่อความเป็นธรรมและยั่งยืน สู่นโยบายพรรคการเมืองด้านระบบความคุ้มครองทางสังคมในผู้สูงอายุ” โดยมีนักวิชาการ ผู้แทนภาคการเมือง และภาคประชาชนเข้าร่วมการเสวนา

ผศ.ดร.ศุภชัย ศรีสุชาติ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวในการเปิดงานว่า การพัฒนาระบบบำนาญแห่งชาติเป็น “ความคุ้มครองทางสังคม” ประเภทหนึ่ง ตามหลักวิชาเศรษฐศาสตร์สาธารณะ ซึ่งความคุ้มครองทางสังคม คือ ระบบหรือมาตรการคุ้มครองขั้นพื้นฐาน เพื่อช่วยป้องกันความเสี่ยงจากเคราะห์ร้าย ช่วยคุ้มครองไม่ให้กลายเป็นคนยากจน โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ซึ่งในอนาคตไทยต้องเผชิญความเสี่ยงวิกฤตความยากจนในผู้สูงอายุ

คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ทุกวันนี้ทั้งสังคมหรือพรรคการเมืองต่างเห็นร่วมกันแล้วว่า เราต้องการระบบสวัสดิการ ซึ่งหมายความว่า มีกฎหมายรองรับเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนจะได้รับตามเกณฑ์ที่กำหนดและ ไม่ใช่เป็นเพียงนโยบายทางการเมืองที่เปลี่ยนแปลงได้ตามแต่ละยุคสมัยของรัฐบาล ในขณะที่ปัจจุบันทุกวันนี้ ไม่ได้เป็นไปตามหลักการสวัสดิการ

คุณอภิสิทธิ์เห็นด้วยกับข้อเสนอของคณะผู้วิจัย คือ มีระบบความคุ้มครองขั้นพื้นฐานรองรับทุกคน และ ระบบวัยแรงงานสมทบเงินออม ส่วนระดับที่สามการสะสมเงินออมสำหรับคนที่มีเงินมาก ก็แล้วแต่ความสมัครใจ เมื่อกำหนดเป็นหลักการแล้ว ก็จะต้องมีเงิน ไม่อย่างนั้นระบบจะล้มได้

ขณะนี้สังคมเรียกร้องเสียงดังมาก และ ในภาคการเมืองตอบรับเป็นขั้นต่ำแล้วว่า 3 พันบาท/เดือน ประเด็นหลัก คือ นโยบายการคลังที่ภาคการเมืองจำเป็นต้องตอบคำถามสังคมว่า จะนำเงินมาจากไหน เพราะประเทศไทยเก็บภาษีได้เหลือเพียง 13% ของ GDP

ดังนั้น นอกจากคุณอภิสิทธิ์จะเห็นด้วยกับข้อเสนอด้านแหล่งเงินของคณะผู้วิจัย คือ ปฏิรูปภาษีระบบภาษี ปฏิรูประบบงบประมาณ และการมีระบบการออมแล้ว คุณอภิสิทธิ์ยังให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมอีกด้วยว่า ควรจะยกเลิกการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล เพราะการไปลดภาษีไม่ได้ช่วยทำให้เกิดการลงทุนเพิ่มขึ้น เฉพาะภาคธุรกิจธนาคาร โทรคมนาคม พลังงาน และ อสังหาริมทรัพย์ 4 สาขาจ่าย ภงด.นิติบุคคล เกือบ 50% ของทั้งหมด การลดภาษีก็คือเป็นการแจกเงินให้ผู้ถือหุ้นกับพนักงานในสาขาเหล่านั้น ประเด็นเหล่านี้ต้องนำมาเป็นส่วนประกอบของสมการทั้งหมด

คุณอภิสิทธิ์ กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้ขาดเงิน 4-5 แสนล้าน การเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) มักจะได้รับการพูดถึงก่อนเพราะง่ายที่สุด แต่ VAT ก็เป็นภาษีที่เพิ่มความเหลื่อมล้ำ ทำให้เศรษฐกิจถดถอยและเติมเงินเฟ้อด้วย ดังนั้น หากจะทำเรื่องภาษีมูลค่าเพิ่ม ควรต้องดำเนินการแบบ Earmarked คือ ระบุวัตถุประสงค์ของการเก็บและใช้ภาษีส่วนนั้นเพื่อสวัสดิการ จึงจะเป็นที่ยอมรับของสังคมได้ เนื่องจากปัจจุบันประชาชนไม่อยากจ่ายภาษีเพิ่ม เพราะไม่พอใจการใช้จ่ายภาษีของรัฐ แต่ถ้าประชาชนมีความชัดเจนว่า 1 บาทที่จ่าย จะเข้าไปเติมเงินในบัญชีเงินออมของเขา อันนี้มีความเป็นไปได้

“ความจริงอัตรา VAT ของเราคือ 10% เราลดชั่วคราวเหลือ 7% ตั้งแต่เมื่อ 21 ปีแล้ว และยังเป็นอัตราชั่วคราวมาจนถึงปัจจุบัน เพราะฉะนั้น ผมว่ามันมีเหตุผลมากที่จะเพิ่มกลับไปที่ 10%  ถ้า 3% นั้นถูก earmarked ให้เป็นเงินออมของทุก ๆ คน … 3% ก็ได้มาประมาณ 2 แสนกว่าล้าน”

ถ้าอัตรา (VAT) ต่ำกว่านั้น เพราะมีความเป็นไปได้มากกว่า ก็สามารถกำหนดให้คนที่ได้เกินจากบำนาญหรือประกันสังคม ก็ยังไม่ต้องรับ แต่ให้เฉพาะคนที่ไม่มี คือ คนที่อยู่นอกระบบ เกษตรกร และ ผู้สูงอายุที่ไม่มีหลักประกัน จะอยู่ในวิสัยที่สามารถทำได้

แล้วออกกฎหมายให้มีที่มาว่า เบี้ยยังชีพที่เหมาะสมมีความคุ้มครองขั้นต่ำเท่าไหร่ เช่น เส้นความยากจนเป็นต้น แล้วก็มีส่วนที่ earmarked ที่มาจากการบังคับออม แล้วที่เติมที่เหลือมาจากการปรับระบบภาษีและการจัดระบบงบประมาณให้เหมาะสม

ความเร่งด่วนในวันนี้ ไม่ใช่ประเด็นว่า สังคมยังไม่ตื่นตัว แต่เราต้องมุ่งไปที่ 2 ประเด็นในการขับเคลื่อน

1. ความต้องการของเรา คือ ไม่ใช่ผู้สูงอายุจะมีเงินสงเคราะห์มากขึ้น แต่ความต้องการของเรา คือ เมื่อเป็นผู้สูงอายุแล้วจะมีสิทธิขั้นพื้นฐานที่รัฐบาลชุดใดก็เบี้ยวไม่ได้ เช่น อ้างว่าไม่มีเงิน กล่าวคือ ขอให้ทุกพรรคการเมืองเข้าสู่สนามเลือกตั้งโดยให้แสดงความชัดเจนว่า เป็นสวัสดิการจริง ๆ ไม่ใช่ระบบสงเคราะห์

2. พรรคการเมืองต้องตอบคำถามว่า จะหาแหล่งรายได้มาจากไหน เพราะถ้าไม่พยายามบังคับให้พรรคการเมืองชี้แจง จะกลับไปข้อ 1 คือ เลือกตั้งเสร็จ ก็พยายามทำที่ได้หาเสียงไว้ แต่สามารถให้เท่าที่ให้ได้ โดยไม่ได้พยายามสร้างระบบอะไรขึ้นมา

นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า ปัจจุบันเรามีข้อเสนอทางวิชาการและเสียงเรียกร้องจากสังคมแล้ว ควรจะสามารถขับเคลื่อนทางสังคม โดยจะต้องตระหนักว่า ผู้สูงอายุมีคุณค่า ไม่ใช่เป็นภาระ แล้ววิธีในการคิดจะต้องคำนึงถึงทุกช่วงวัย ซึ่งต้องอาศัยทั้งพลังของภาคการเมืองและเสียงของคนรุ่นใหม่

ตัวอย่างเช่นบัตรทองมาจากการพัฒนาของระบบที่ต่อเนื่องทั้งระบบที่หลากหลาย โดยประสบการณ์ของระบบใหญ่ ๆ จำนวนมากที่เกิดขึ้นในสมัยวิกฤต จึงต้องมีความพร้อมทางวิชาการ มีเจตนารมณ์ทางการเมือง และเสียงเรียกร้องจากสังคม

นพ.ประทีป มีข้อเสนอแนะ คือ ต้องทำให้เห็นภาพและทิศทางใหญ่ของประเทศสำหรับระบบข้างหน้า โดยต้องมุ่งเป้าหมายทำให้ระบบมีประสิทธิภาพ และ ลดความซ้ำซ้อน เพื่อให้ผู้สูงอายุมีหลักประกัน ครอบครัวไม่รับภาระมาก และ ประเทศใช้งบอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ นพ.ประทีป ยังได้แสดงข้อคิดเห็นด้วยว่า ระบบออมระยะยาว ต้องใช้ระบบบังคับเป็นหลัก

ดร.เดชรัต สุขกำเนิด ผู้อำนวยการ Think Forward Center กล่าว่า เห็นด้วยกับการกำหนดเป็นกฎหมาย เป็นหลักการ ไม่อยากจะให้กลายเป็นแค่ประเด็นหาเสียง  แต่ควรจะมาจากระดับความคุ้มครองความยากจน จึงเสนอที่ 3 พันบาท ซึ่งสอดคล้องกับที่ภาคประชาชนเสนอ นอกจากนี้ ควรจะมีกองทุนดูแลผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง 200 บาท/คน/เดือน เพื่อดูแลผู้ป่วยติดเตียง  ไม่ใช่เฉพาะผู้ป่วย แต่จะช่วยคนในวัยแรงงานด้วย

หากกำหนดที่ 3,000 บาท ได้คำนวณในแง่การคลังพบว่า จะต้องใช้เวลาในการพัฒนาศักยภาพในการหารายได้ ดังนั้น จึงต้องขึ้นเป็นขั้นบันได เช่น 600 บาท/เดือน เป็น 1500 บาท/เดือนในปีแรก แล้วจึงเพิ่มขึ้นจนไปถึงเป้าหมาย 3000 บาท/เดือน

ดร.เดชรัต กล่าวว่า แนวทางการหารายได้ อย่างไรก็ต้องขึ้นภาษี โดยสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บ เป็นเงิน 2 แสนล้าน จัดเก็บภาษีเพิ่มจากคนรวยหรือธุรกิจรายใหญ่ 2 แสนล้าน และ ปรับงบประมาณให้มีประสิทธิภาพการใช้จ่าย 2 แสนล้านบาท

ตัวอย่างรายได้จากภาษี เช่น

1. เงินได้นิติบุคคล ต้องปรับโดยลดภาษีให้รายเล็ก แต่ไปเพิ่มภาษีรายใหญ่ ทำให้แตกต่างระหว่างผู้ประกอบการรายเล็กและรายใหญ่มากขึ้น

2. เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บ

3. ปรับปรุงการลดหย่อนภาษีให้มีความเป็นธรรมมากขึ้น

4. เสนอการเพิ่มภาษีที่ดินในอัตราก้าวหน้ามากขึ้น และ ภาษีความมั่งคั่งจากความมั่งคั่งสุทธิเกิน 300 ล้านบาท

ในขณะที่ ดร.เดชรัต เคยวิจัยสำรวจครัวเรือนพบว่า ประชาชนยังไม่แน่ใจว่า หากจะต้องจ่าย VAT เพิ่มขึ้น จะได้ประโยชน์คุ้มค่ากับภาษีที่จ่ายเพิ่มขึ้นหรือไม่ โดย ดร. เดชรัต ยืนยันว่า อย่างไรก็ควรจะต้องมีการร่วมจ่ายตามหลักวิชาการที่งานวิจัยได้เสมอไว้ และ ทุกคนควรจะอยู่ในระบบประกันสังคมถ้วนหน้า ยิ่งไปกว่านั้น เราควรที่จะจัดให้มีเวทีอภิปรายเกี่ยวกับการเพิ่มภาษี เพื่อจะได้เกิดการถกเถียงเพื่อตกผลึกในสังคม

คุณอภิสิทธิ์ กล่าวเสริมว่า การทำระบบให้มั่นคง จะดีกว่ารีบทำ แล้วระบบล้มหรือเบี้ยวจ่ายในภายหลัง โดยจุดขัดข้องสำคัญ คือ คนไม่เชื่อการใช้จ่ายรัฐบาล ดังนั้น หากใช้วิธีการ earmarked VAT แบบออมเงิน น่าจะมีทางเป็นไปได้

นพ.ประทีป ได้ให้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมว่า ขณะนี้คนรุ่นใหม่ เห็นด้วยกับ Earmarked VAT และ เห็นด้วยที่ควรจะจัดให้พรรคการเมืองมาคุยเรื่องเงินภาษี

ศ.ดร.เอื้อมพร พิชัยสนิธ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ภาควิชาการได้เสนอมานานแล้ว ต้องให้ภาคการเมืองมาทำให้เกิดขึ้นจริงในทางปฏิบัติ

โดยประเด็นที่อยากจะชวนคิด คือ

1. ความเป็นธรรมในมุมมองของประชาชนที่แท้จริง ไม่ใช่ของนักวิชาการหรือนักการเมือง จึงต้องสร้างการตระหนักรู้และการมีส่วนร่วมถึงทางเลือกสวัสดิการต่าง ๆ  ทำให้ประชาชนทราบว่า มีฝั่งที่ได้แล้ว ฝั่งที่ต้องจ่าย มีอะไร จึงตกผลึกทางความคิดว่า เราต้องการโมเดลแบบไหน

ไม่ใช่เฉพาะเรื่องอัตราควรจะเป็นเท่าไหร่ แต่เรามองภาพใหญ่ว่า เราจะมีจุดร่วมอย่างไร ต้องการสวัสดิการแบบไหนในองค์รวม เพื่อเป็นสัญญาณให้ฝ่ายการเมืองทราบความต้องการของประชาชน ตัวอย่างเช่น ยุโรปเหนือ สะท้อนฉันทามติผ่านทางการเมือง แต่ถ้าเป็นประเทศที่เน้นระบบตลาด ก็สะท้อนผ่านกระบวนการทางการเมืองในการเลือกตั้ง ในขณะที่ประเทศเรามีหลากหลายความคิด คุยประเด็นย่อย แต่ยังไม่มีประชามติที่ชัดเจนเกี่ยวกับทิศทาง จึงจำเป็นจะต้องมาเป็นชุด package ว่า จะเอาภาษีมาจากไหน ดังนั้น ในระยะยาวจะต้องกระตุ้นการตระหนักรู้ของสังคม เพื่อให้เกิดการตกผลึกทางความคิด

ในยุคข่าวสารข้อมูล พรรคการเมืองต้องจริงใจ เสนอข้อเท็จจริงและข้อจำกัดของข้อเสนอนโยบาย จึงจะเกิดขึ้นมาอย่างเป็นธรรมที่แท้จริง ในมุมมองของประชาชน

2. ความยั่งยืนจำเป็นต้องครอบคุลมการเกิดผลในระยะสั้นและระยะยาว เพราะในมุมนักวิชาการ เน้นระยะยาว และ optimal ในขณะที่นักการเมือง เน้น quick win ระยะสั้น เพราะข้อจำกัดเรื่องเวลา ดังนั้น นักการเมืองควรต้องยอม trade-off มามองระยะยาวด้วย เพื่อรุ่นลูกหลานและตัวท่านเองในระยะยาว

กรณีระบบบำนาญแห่งชาติ ต้องคำนึงเรื่อง transition เช่น นโยบายการออมในระยะยาว แต่ระยะสั้น ก็ต้องมีผลเกิดขึ้นเป็นรูปธรรม เช่น การขยายฐาน กอช.  และ ควรมีพื้นที่เพิ่มเติมการ subsidize ให้ผู้สูงอายุ หากจะให้เกิดความยั่งยืนของนโยบายในระยะยาว จะต้องครอบคลุมผลทั้งระยะสั้นและระยะยาว โดยความร่วมมือของทุกภาคส่วน

ในการเสวนาครั้งนี้ ผู้ร่วมเสวนายังเห็นพ้องในหลักการร่วมกันว่า สิ่งที่จำเป็นหรือนับเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จในการขับเคลื่อนนโยบายบำนาญแห่งชาติ คือ การทำให้เจตนารมณ์ทางสังคมสามารถเกิดขึ้นเป็นจริงด้วยนโยบายจากพรรคการเมือง

******** ******** ******** ******** ******** ******** ******** ********

เวทีเสวนาและนำเสนองานวิจัย

ระบบบำนาญแห่งชาติเพื่อความเป็นธรรมและยั่งยืน:
สู่นโยบายพรรคการเมืองด้านระบบความคุ้มครองทางสังคมในผู้สูงอายุ

วันพฤหัสบดีที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2566 เวลา 13.30 – 16.30 น.

ณ ห้องประชุมใหญ่ชั้น 5 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพฯ และ

เผยแพร่สาธารณะด้วยระบบการประชุมทางไกลผ่านจอภาพ (Video Conference)

วัตถุประสงค์

          เพื่อให้เกิดการเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และระดมความคิดเห็น และการเชื่อมโยงนโยบายการพัฒนาระบบบำนาญแห่งชาติที่มีอยู่ในปัจจุบัน ตลอดจนเพื่อเผยแพร่สู่สาธารณะเพื่อสร้างความตระหนักและความเข้าใจสถานการณ์ในปัจจุบันและทิศทางที่ควรมุ่งไปในอนาคต

เป้าหมายกลุ่มผู้รับชม

          ภาคประชาชน ภาคนโยบาย และ ภาควิชาการ

รูปแบบกิจกรรม

          นำเสนองานวิจัย “การวิเคราะห์ช่องว่างทางการคลัง แหล่งรายได้ และความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์การเมืองของการจัดตั้งระบบบำนาญแห่งชาติ โดยคำนึงถึงผลกระทบของ COVID-19 ที่มีต่อผู้สูงอายุ” โดยคณะผู้วิจัย และ เปิดเวทีเสวนาประเด็นแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในหัวข้อ “การพัฒนาระบบบำนาญแห่งชาติให้มีความเป็นธรรมและยั่งยืน – สู่นโยบายพรรคการเมืองด้านระบบความคุ้มครองทางสังคมในผู้สูงอายุ”

          – Online Live ผ่านสื่อมวลชน

ผู้เข้าร่วมเวทีเสวนา

          ผู้ทรงคุณวุฒิจาก ภาคนโยบาย ภาควิชาการ และ ภาคประชาชน เป็นผู้เข้าร่วมเวทีเสวนา

วันเวลาการจัดกิจกรรม

          วันพฤหัสที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2566 เวลา 13.30 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมใหญ่ชั้น 5 คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพฯ โดยมีการถ่ายทอดสดผ่านช่อง EconTU Official ทาง YouTube และ Facebook

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

          1.ผู้กำหนดนโยบายและผู้เกี่ยวข้องระดับปฏิบัติการ หรือผู้ที่สนับสนุนหรือผู้ที่สนใจ สามารถเผยแพร่องค์ความรู้และข้อค้นพบจากผลการศึกษาวิจัยดังกล่าว เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงนโยบายการพัฒนาระบบบำนาญแห่งชาติในปัจจุบัน ตลอดจนการเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และระดมความคิดเห็น

          2. ผู้กำหนดนโยบายและผู้เกี่ยวข้องระดับปฏิบัติการ หรือผู้ที่สนับสนุนหรือผู้ที่สนใจ สามารถนำไปใช้ในการจัดการความรู้เพื่อเผยแพร่สู่สาธารณะเพื่อสร้างความตระหนักและความเข้าใจสถานการณ์ในปัจจุบันและทิศทางที่ควรมุ่งไปในอนาคต

          3.ผู้กำหนดนโยบายและผู้เกี่ยวข้องระดับปฏิบัติการ หรือผู้ที่สนับสนุน มีส่วนในการตัดสินใจเพื่อได้เห็นประเด็นปัญหาและความท้าทายในภาพรวม

          4 สามารถนำไปเผยแพร่เพื่อสร้างความตระหนักและการตื่นตัวในการสร้างหลักประกันให้กับตนเองในยามสูงวัย

การดำเนินงาน

          ดำเนินงานโดย   : คณะเศรษฐศาสตร์ และ ศูนย์วิจัยความเหลื่อมล้ำและนโยบายสังคม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

          สนับสนุนโดย     : มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุ (มส.ผส.) และ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

กำหนดการ

(พิธีกร: คุณภรณ์วรัตน์ ฟุ้งพิริยะ)

เวลา 13.00 – 13.30 น. ลงทะเบียน

เวลา 13.30 – 13.40 น. เปิดเวทีเสวนาวิชาการ

                                        โดย ผศ.ดร.ศุภชัย ศรีสุชาติ

                                              คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์              

เวลา 13.40 – 14.00 น. นำเสนอผลการศึกษาโครงการวิจัย “การวิเคราะห์ช่องว่างทางการคลัง แหล่งรายได้ และความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์ การเมืองของการจัดตั้งระบบบำนาญแห่งชาติ โดยคำนึงถึงผลกระทบของ COVID-19 ที่มีต่อผู้สูงอายุ”

                                        โดย ผศ.ดร.ดวงมณี เลาวกุล และ ดร.ทีปกร จิร์ฐิติกุลชัย 

                                              คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เวลา 14.00 – 16.00 น. แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและแนวทางการขับเคลื่อน

โดย

                                        1. คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี

                                        2. นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ

                                        3. ดร.เดชรัต สุขกำเนิด ผู้อำนวยการ Think Forward Center

                                        4. ศ.ดร.เอื้อมพร พิชัยสนิธ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ผู้ดำเนินรายการ: ดร.เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว

เวลา 16.00 – 16.20 น.     Q & A

เวลา 16.20 – 16.30 น.     กล่าวสรุปและปิดงาน

อ่านเพิ่มเติม:

https://today.line.me/th/v2/article/DR1ZXy5
https://www.nationtv.tv/politic/378909326
https://www.hfocus.org/content/2023/03/27356
https://shorturl.asia/nghRL
https://theactive.net/news/welfare-20230324/
https://www.naewna.com/likesara/719520
https://shorturl.asia/CJoFx
https://www.thecoverage.info/news/content/4720
https://shorturl.asia/Xrgyk
https://www.thecoverage.info/news/content/4716
https://shorturl.asia/Mqy4j
https://www.bangkokpost.com/thailand/general/2536599/profs-back-b3-000-pensions-for-aged
https://www.komchadluek.net/news/society/545475
https://www.isranews.org/article/isranews-news/117305-suggestion-national-pension-forum-news.html
https://prachatai.com/journal/2023/03/103324
https://www.thaiquote.org/content/249839
https://www.tcijthai.com/news/2023/3/scoop/12878
https://mgronline.com/qol/detail/9660000027942
https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_7578529
https://www.dop.go.th/thai/gallery/1/6938
https://waymagazine.org/vote66_pension/
https://www.thecoverage.info/news/content/4728
https://tu.ac.th/thammasat-270366-seminar-the-national-pension-system-for-justice
https://www.nationtv.tv/politic/378909326

‘วาระเลือกตั้ง’ จังหวะก้าวสู่รูปธรรม – นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ

แม้จะกลายเป็นมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติที่เห็นพ้องร่วมกันของหลายฝ่าย แต่แน่นอนว่าเรื่องนี้จำเป็นต้องอาศัยแรงขับเคลื่อนโดยตรงจากภาคการเมือง หรือผู้ที่จะมีอำนาจในการตัดสินใจเชิงนโยบาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงจังหวะ “การเลือกตั้งใหญ่” ที่จะเกิดขึ้นภายในปี 2566 นี้ ก็นับว่าจะเป็นห้วงเวลาสำคัญของการผลักดันให้เกิดขึ้น

“เรื่องของสวัสดิการ ระบบบำนาญ หรือหลักประกันรายได้ของผู้สูงวัยนี้ กำลังจะเป็นโอกาสทางการเมืองของพรรคการเมืองต่างๆ ที่จะต้องรีบตัดสินใจและนำไปบรรจุไว้เป็นนโยบายสำหรับการเลือกตั้งครั้งหน้าที่กำลังจะมาถึง เพราะสิ่งนี้กำลังเป็นความต้องการของสังคม” นี่คือคำยืนยันจาก นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.)

นพ.ประทีป ระบุว่า แม้การผลักดันเรื่องนี้จะเป็นเรื่องใหญ่ มีความซับซ้อน และต้องทำในหลายมิติ จึงทำให้บางฝ่ายอาจมองว่าเป็นไปได้ยาก หรือเกิดข้อสงสัยมากมาย เช่นว่าประเทศไทยจะทำได้หรือไม่ รัฐบาลจะเอาเงินมาจากไหน การมีระบบประกันสังคม หรือเบี้ยยังชีพ ที่ดูแลคนเฉพาะส่วนน่าจะเพียงพอแล้วหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 ที่ทำให้ภาพรวมของประเทศจนลง แต่หากมองย้อนกลับไปถึงประสบการณ์ของการผลักดันระบบบัตรทอง ที่ประสบผลสำเร็จมาถึงปัจจุบันนี้ ก็เกิดขึ้นภายหลังวิกฤตด้วยเช่นกัน

“ระบบบัตรทองที่ตั้งขึ้นในปี 2545 ก็เคยเจอปัญหาคล้ายกัน คือการตั้งคำถามว่าจะสร้างระบบหลักประกันถ้วนหน้าให้กับทุกคนได้อย่างไร เพราะเป็นเรื่องใหญ่และซับซ้อน จะเอาเงินมาจากไหน โดยเฉพาะหลังประเทศเพิ่งผ่านพ้นวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540 อย่างไรก็ตามเมื่อมีการผลักดัน ศึกษาความเป็นไปได้และผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น จนเกิดการสร้างเจตนารมณ์ร่วมกันของสังคม และนำไปสู่การเป็นเจตจำนงทางการเมือง ก็ทำให้เกิดการขับเคลื่อนจนประสบผลสำเร็จได้” นพ.ประทีป ให้ทรรศนะ

เลขาธิการ คสช. มองว่าขณะนี้เป็นโอกาสและมีความพร้อมในหลากหลายส่วน ไม่ว่าจะเป็น “ภาคประชาชน” รวมถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่แสดงออกถึงความต้องการและพร้อมสนับสนุน ขณะที่ “ภาควิชาการ” ก็มีผลการศึกษาและหาทางออกให้กับเรื่องนี้ไว้อย่างชัดเจน รวมไปถึง “ภาครัฐ” หน่วยงานต่างๆ ที่หลายแห่งก็มีประสบการณ์และวางระบบย่อยๆ เหล่านี้ไปแล้วพอสมควร ดังนั้นจังหวะของการเลือกตั้งใหญ่ที่กำลังจะมาถึงนี้จึงเป็นโอกาสดีที่สุดในการที่จะทำให้เกิดเจตนารมณ์ทางสังคม ที่นำไปสู่พันธสัญญาของฝ่ายการเมืองในการผลักดัน

https://main.healthstation.in.th/news/show/573

เอกสารนำเสนอผลการศึกษาโครงการวิจัย “การวิเคราะห์ช่องว่างทางการคลัง แหล่งรายได้ และความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์การเมืองของการจัดตั้งระบบบำนาญแห่งชาติ โดยคำนึงถึงผลกระทบของ COVID-19 ที่มีต่อผู้สูงอายุ”

PowerPoint <<

Final Report <<

“เสนอเร่งขับเคลื่อนจัดตั้งระบบบำนาญแห่งชาติ ถกบริหารจัดการทางการคลังให้เพียงพอและยั่งยืน ห่วงผู้สูงอายุไทยต้องเผชิญความเสี่ยงวิกฤตความยากจน ไร้เงินออม รายได้ไม่พอเลี้ยงชีพ เสนอปรับรูปแบบจัดเก็บภาษีเพื่อสังคมสูงวัย ลดเหลื่อมล้ำ เฉลี่ยสุข-ทุกข์”

เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2565 ที่โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ กรุงเทพฯ ได้มีการจัดเวทีเสวนาวิชาการ “การขับเคลื่อนในการจัดตั้งระบบบำนาญแห่งชาติ และพัฒนาการบริหารจัดการทางการคลังของระบบบำนาญแห่งชาติให้มีความเพียงพอและยั่งยืน” ด้วยระบบการประชุมทางไกลผ่านจอภาพ (Video Conference) ซึ่งจัดโดยมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) ร่วมกับ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้และข้อค้นพบจากงานวิจัยให้เกิดการเชื่อมโยงนโยบายการพัฒนาระบบบำนาญแห่งชาติ ตลอดจนเปิดพื้นที่สร้างสรรค์แลกเปลี่ยนเรียนรู้และระดมความคิดเห็น สร้างความตระหนักและความเข้าใจสถานการณ์ปัจจุบันและทิศทางในอนาคต มีตัวแทนผู้เข้าร่วมเสวนา อาทิ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กระทรวงมหาดไทย กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงแรงงาน กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง กระทรวงศึกษาธิการ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สำนักงานประกันสังคม สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กองทุนการออมแห่งชาติ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตัวแทนจากพรรคการเมือง ผู้ทรงคุณวุฒิในด้านผู้สูงอายุ ภาคประชาสังคม และนักวิชาการที่เกี่ยวข้อง

ผศ.ดร.ดวงมณี เลาวกุล และ ดร. ทีปกร จิร์ฐิติกุลชัย จากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้นำเสนอผลการศึกษาโครงการวิจัย “การวิเคราะห์ช่องว่างทางการคลัง แหล่งรายได้ และความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์การเมืองของการจัดตั้งระบบบำนาญแห่งชาติ โดยคำนึงถึงผลกระทบของ COVID-19 ที่มีต่อผู้สูงอายุ”

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลลักษณะทางเศรษฐกิจของประชากรผู้สูงอายุและกลุ่มวัย 40-59 ปี ในปี 2563 ซึ่งเป็น “ประชากรรุ่นเกิดหนึ่งล้านคนต่อปี” หรือ กลุ่มสึนามิประชากร มีความเปราะบางต่อความยากจนสูง เพราะส่วนมากไม่มีความสามารถในการออม เมื่อพิจารณาจากรายได้ ค่าใช้จ่าย และหนี้สิน

ยิ่งในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ปี 2563 มีผู้สูงอายุยากจนพุ่งขึ้นในหลายจังหวัด และส่วนใหญ่ไม่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ซึ่งระดับเบี้ยยังชีพขั้นต่ำที่จะช่วยผู้สูงอายุกลุ่มยากจนที่สุดให้พ้นจากความยากจนได้ จะต้องไม่ต่ำกว่า 2,000 บาทต่อเดือน

ทั้งนี้ แม้จะเพิ่มเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแบบถ้วนหน้า 3,000 บาทต่อเดือน ก็ยังคิดเป็นงบประมาณที่น้อยกว่าระบบบำนาญของเจ้าหน้าที่ภาครัฐในระยะยาว

การออกแบบระบบบำนาญแห่งชาติ สามารถพัฒนาระดับมาตรฐานการครองชีพขึ้นไปได้ถึงระดับกึ่งกลางหรือมัธยฐานของครัวเรือนไทยที่ 6,000 บาทต่อเดือน หรือ 200 บาทต่อวัน โดยให้ผู้ทำงานอยู่นอกระบบสามารถทำการออม และให้รัฐบาลร่วมสมทบการออมในสัดส่วนเดียวกัน ซึ่งจะใช้งบประมาณทั้งหมดไม่สูงกว่าระบบบำนาญภาครัฐ

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลจะต้องมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยแหล่งรายได้ที่สำคัญสำหรับระบบบำนาญแห่งชาติ ได้แก่ การขยายฐานภาษี ภาษีฐานทรัพย์สินและการลดนโยบายที่เอื้อให้กับคนรวย (Pro-rich) ซึ่งจะกลายเป็นกลไกสำคัญในการลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจในสังคมลงได้

โดยคณะผู้วิจัยมีข้อเสนอดังนี้

  1. ควรกำหนดให้ระบบบำนาญแห่งชาติ เป็นวาระแห่งชาติ (national agenda) ที่มีหน่วยงานรับผิดชอบชัดเจน
  2. มีการแก้ไขกฎหมายและระเบียบต่าง ๆ ที่เป็นข้อจำกัด เพื่อให้มีการกำหนดสวัสดิการถ้วนหน้าด้านบำนาญ เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ประชาชนมีสิทธิได้รับ และสามารถคุ้มครองความยากจน จากเส้นความยากจนในแต่ละปี ตัวอย่างเช่น แก้ไข พรบ. ผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 เป็น “พรบ.ผู้สูงอายุและบำนาญพื้นฐานแห่งชาติ พ.ศ. 2546” พร้อมทั้งแก้ไขให้เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเป็นบำนาญพื้นฐานแห่งชาติ และสามารถมีแหล่งรายได้เพิ่มมากขึ้นสำหรับกองทุนผู้สูงอายุ ตามข้อเสนอของคณะกรรมาธิการการสวัสดิการสังคม สภาผู้แทนราษฎร (2564) เป็นต้น
  3. สร้างระบบฐานข้อมูล โดยกำหนดให้ผู้ที่ต้องการเบี้ยผู้สูงอายุส่วนเพิ่มเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ในวัยทำงาน
  4. ส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุให้เป็นรูปธรรม ทั้งในระบบและนอกระบบ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ทำงานนานขึ้น ขอรับบำนาญช้าลง และส่งเสริมการออม
  5. ทบทวนนิยาม “การเริ่มนับอายุของผู้สูงอายุ” ให้เพิ่มมากกว่า 60 ปี และขยายเวลาในการ “เกษียณอายุ” จากการทำงาน (ทั้งภาครัฐและเอกชน) โดยอาจจำเป็นต้องแก้ไขกฏหมายบางฉบับ

ทั้งนี้ จะต้องสร้างการขับเคลื่อนในลักษณะของ “สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา” คือ ภาควิชาการ ภาคประชาชน และ ภาคนโยบาย ร่วมมือร่วมใจกันอย่างเข้มแข็ง เหมือนที่ประเทศไทยเคยใช้ยุทธศาสตร์ “สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา” จนสามารถสร้างระบบ “หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า” ได้สำเร็จ

โดยควรสื่อสารให้ชัดว่า “สิ่งที่จะได้มา (บำนาญผู้สูงอายุ) มีมากกว่าสิ่งที่จะเสียไป (ภาษี)” และ ควรเปิดพื้นที่ให้คนรุ่นใหม่เข้ามามีวิวาทะ (dialogue) รวมถึงใช้กลุ่มคนที่มีอิทธิพลทางความคิด (influencer) และ การสื่อสารออนไลน์ต่าง ๆ เพื่อชักชวนให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเชิงสร้างสรรค์

แน่นอนว่า การผลักดันนโยบายต่าง ๆ อาศัยเจตจำนงทางการเมืองเป็นสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจ ซึ่งข้าราชการที่มีหน้าที่ถ่ายทอดนโยบายลงสู่การปฏิบัติล้วนมีข้อมูลและความพร้อม อาศัยเพียงความตั้งใจของผู้มีอำนาจที่จะผลักดันระบบบำนาญแห่งชาติให้ถ่ายทอดลงมาสู่ผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งหากผู้มีอำนาจมีความตั้งใจจริง ย่อมได้รับแรงสนับสนุนจากกลุ่มต่าง ๆ ในสังคมที่ผลักดันเรื่องนี้มาเป็นเวลานาน และเป็นแนวทางเพื่อให้มีระบบบำนาญแห่งชาติ อันสอดคล้องกับที่นักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำของประเทศได้ศึกษาวิจัยและเสนอเรื่องนี้ตั้งแต่ 10-15 ปีที่แล้ว

หลังวิกฤตต้มยำกุ้ง ประเทศไทยสามารถมีระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า เป็นความสำเร็จและความภาคภูมิใจในระดับโลก ดังนั้น หลังวิกฤต COVID-19 ประเทศไทยควรจะมี การจัดตั้งระบบบำนาญแห่งชาติ และพัฒนาการบริหารจัดการทางการคลังของระบบบำนาญแห่งชาติให้มีความเพียงพอและยั่งยืน

บทความ สัมภาษณ์ และ สื่อสาธารณะ

(รวบรวมเพื่อเอกสารประเมินเมื่อครบ 12 เดือน เป็นอาจารย์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แม้จะไม่สามารถใช้ประเมินเป็นคะแนนความดีความชอบ แต่ก็ได้ทำหน้าที่อันพึงกระทำที่รับเงินเดือนจากภาษีประชาชน เพื่อความเป็นธรรมในสังคม)

ความเสี่ยงวิกฤตเศรษฐกิจของชีวิตผู้สูงอายุ: มุมมองทางเศรษฐศาสตร์การเมืองเพื่อความคุ้มครองทางสังคม

http://www.setthasarn.econ.tu.ac.th/blog/detail/584

พม. ดึงนักวิชาการร่วมเวทีสนทนาทางนโยบายด้านการคุ้มครองทางสังคม แนะเพิ่มการลงทุนพัฒนามนุษย์ โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/58627

มส.ผส.-วช. เปิดผลวิจัยพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุไทย สร้าง สังคมสูงวัยแบบพฤฒพลัง อย่างยั่งยืนภายใต้วิถีชีวิตใหม่ เผยผลศึกษาอาจารย์มธ. ระบุ “เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 3,000บาท” แบบถ้วนหน้า มีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ

https://www.komchadluek.net/news/528084

ชงตั้งระบบบำนาญแห่งชาติ ถกบริหารจัดการทางการคลังให้เพียงพอและยั่งยืน แก้ปัญหาสูงวัยยากจน ไร้เงินออม

https://mgronline.com/qol/detail/9650000044868

ประเทศไทยพร้อมหรือยัง?: เมื่อหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์กำลังจะ disrupt ตลาดแรงงานไทย

https://www.the101.world/labour-skills-and-automation-in-thailand/

ผลวิจัยระบุ”เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 3,000บาท”แบบถ้วนหน้า มีความเป็นไปได้

https://www.komchadluek.net/news/society/528084

นักเศรษฐศาสตร์ชำแหละงบฯ 2566 ไม่ตอบโจทย์ประเทศ

https://www.thaipbs.or.th/news/content/316092

สัปดาห์บุคลากรสาธารณสุขโลก World Health Worker Week ชวนระลึกถึงความขาดแคลนกำลังคน

https://www.thecoverage.info/news/content/3357

ความขาดแคลนบุคลากรสุขภาพ และการจัดเครือข่าย ของระบบสาธารณสุขไทย

https://www.thecoverage.info/news/content/3517

งานวิจัยตอกย้ำความเหลื่อมล้ำ สิทธิสวัสดิการ ‘ข้าราชการ’ คุณภาพดีกว่าอีก 2 กองทุนถึง 60-70%

https://www.thecoverage.info/news/content/3336

เปิดงานวิจัยตอกย้ำ ‘ความเหลื่อมล้ำ’ สิทธิ ‘3 กองทุนสุขภาพ’ สุดลักลั่น นักวิชาการปลุก ‘คนสาธารณสุข’ ลุกขึ้นมาสร้างความเปลี่ยนแปลง

https://www.thecoverage.info/news/content/3414

มส.ผส.-วช.เปิดผลวิจัยคุณภาพชีวิตผู้สูงวัยไทย ชูขับเคลื่อน 4 ประเด็น สร้างสุขยั่งยืน

https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_3535616

น่าห่วง! ผู้สูงอายุ 12 % อยู่คนเดียว อีก 21.1% อยู่ลำพังกับคู่สมรส ชี้สารพัดปัญหา สวัสดิการไม่เพียงพอ

https://dol.thaihealth.or.th/Media/Pdfview/47ed1a16-bf28-ed11-80fa-00155db45626

น่าห่วง! ผู้สูงอายุ 12 % อยู่คนเดียว อีก 21.1% อยู่ลำพังกับคู่สมรส ชี้สารพัดปัญหา สวัสดิการไม่เพียงพอ

https://www.hfocus.org/content/2022/08/25865

เปิดผลวิจัยพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุไทยหวังสร้างสังคมสูงวัยวิถีใหม่

https://www.thansettakij.com/health/538520

เสนอเร่งตั้งระบบบำนาญแห่งชาติ ถกบริหารจัดการทางการคลังให้เพียงพอและยั่งยืน แก้ปัญหาสูงวัยยากจน ไร้เงินออม

https://www.hfocus.org/content/2022/05/25082

“มส.ผส.” จับมือ “วช.” เปิดผลวิจัยพร้อมพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุไทย

https://siamrath.co.th/n/378080

ผลวิจัยระบุ “เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 3,000บาท” แบบถ้วนหน้า มีความเป็นไปได้

https://www.komchadluek.net/news/society/528084

สรุปผลการเสวนาเชิงนโยบาย (TSRI Policy Forum) เรื่อง “พินิจร่าง พ.ร.บ.บำนาญแห่งชาติ-สู่ระบบบำนาญที่พึงปรารถนา”

https://library.parliament.go.th/th/workrelated/2565-rd-PensionSystem

ชงจัดตั้งระบบบำนาญแห่งชาติ แก้ปัญหาสูงวัยยากจน ไร้เงินออม

https://www.bangkokbiznews.com/social/1003821

มส.ผส.- วช. เปิดผลวิจัยพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุไทย

https://www.lokwannee.com/web2013/?p=437378

แนะ ระบบบำนาญแห่งชาติ แก้ปัญหาความยากจนในผู้สูงอายุ

https://theactive.net/news/welfare-20220511/

จี้แก้เบี้ยยังชีพเป็นบำนาญพื้นฐานชาติ นักวิชาการแนะรัฐตั้งหน่วยรับผิดชอบ

https://www.thairath.co.th/news/local/2393492

‘หยุดส่งต่อความยากจน’ ประชาชนรวมตัวหน้ารัฐสภา ผลักดัน ‘บำนาญแห่งชาติ’

https://prachatai.com/journal/2022/05/98803

อาจารย์และนักวิชาการ 86 รายจากทั่วประเทศ ร่วมลงชื่อเรียกร้อง กสทช. และ กขค. ตรวจสอบดีลควบรวม TRUE-DTAC

https://thestandard.co/sign-petition-requesting-nbtc-nrct-verify-true-dtac-merger-deal/

On The Move 11.05.2565 (มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ)

https://www.facebook.com/298157161013098/posts/pfbid0DiZBfw9vwo4CoSpn3f8afoDUfQKRoupgmLydfgxFndAYVqQohyixHAVM4Duytb8Tl/?d=n

Thai government urged to reduce defence budget to fund welfare projects

https://www.thaipbsworld.com/thai-government-urged-to-reduce-defence-budget-to-fund-welfare-projects/

How Thailand is entering an aging society | This Week with Thai PBS World | 27 MAY 2022

https://www.thaipbs.or.th/program/ThisweekThaipbsworld/episodes/86913

Why some elderly Thais cannot afford to retire (Thai PBS)

รายการข่าวค่ำมิติใหม่: นักเศรษฐศาสตร์ ชำแหละงบฯ 2566 ไม่ตอบโจทย์ประเทศ (30 พ.ค. 65) (Thai PBS)

นักวิชาการ เสนอ ระบบบำนาญแห่งชาติเป็นวาระแห่งชาติ ข่าวเที่ยง วันที่ 11 พฤษภาคม 2565 (สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์)

รอไม่ไหวแล้ว! นักวิชาการจี้รัฐ เร่งจัดตั้งบำนาญแห่งชาติ แก้ปัญหาสูงวัยยากจน (ทนายไอที)

ระบบบำนาญแห่งชาติ – เหตุผลที่มักจะนำมาคัดค้านการพัฒนาความคุ้มครองความยากจนผู้สูงอายุ

ประเด็นคัดค้าน (1): “เป็นภาระงบประมาณ

ข้อควรพิจารณา:

หลักการพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์สาธารณะในการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคม จะพิจารณา “ความมีประสิทธิภาพ” และ “การกระจายอย่างเป็นธรรม”

ความมีประสิทธิภาพของการใช้งบประมาณ ควรคำนึงถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจากการเกิดผลทวีคูณต่อระบบเศรษฐกิจ (multiplier effect) และการช่วยคุ้มครองความยากจน (poverty protection) สำหรับทั้งผู้สูงอายุและครอบครัว ซึ่งสาระสำคัญคือ การถ่ายโอนทรัพยากร เพื่อให้สังคมโดยรวมมีระดับความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

ในขณะที่การกระจายอย่างเป็นธรรม ก็สามารถใช้ระบบบำนาญแห่งชาติ เป็นเครื่องมือแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างด้านความเหลื่อมล้ำ เพื่อสร้างความเป็นธรรมและลดความเสี่ยงที่จะเกิดความขัดแย้งรุนแรงทางการเมือง

งานวิจัยนานาชาติแสดงให้เห็นว่า การลดความเหลื่อมล้ำ จะมีผลทางบวกต่อศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ และช่วยทำให้เศรษฐกิจขยายตัวได้เร็วกว่า

ดังนั้น การใช้งบประมาณเพื่อสร้างความคุ้มครองทางสังคมให้ผู้สูงอายุ จึงมีความสมเหตุผลทางเศรษฐศาสตร์ ไม่ใช่เป็นภาระงบประมาณ โดยสามารถมีแหล่งรายได้มาจาก ก. การปฏิรูปงบประมาณให้มีประสิทธิภาพมุ่งเป้าการใช้จ่ายให้เกิดประโยชน์โดยตรงต่อประชาชน ข. ปฏิรูประบบภาษีโดยใช้เป็นเครื่องมือช่วยลดความเหลื่อมล้ำและเพิ่มความคุ้มครองความยากจนสำหรับผู้สูงอายุ และ ค. การออมจากที่รับผิดชอบตั้งแต่วัยทำงานสำหรับส่วนที่เพิ่มเติมจากระดับความคุ้มครองความยากจน

*

ประเด็นคัดค้าน (2): “ไม่ได้จ่ายภาษี ไม่ควรได้รับ

ข้อควรพิจารณา:

หลักพื้นฐานของภาษีอากรประการหนึ่ง คือ ความเป็นธรรมในแนวดิ่ง (vertical equity) โดยกลุ่มที่มีโอกาสและทรัพยากรมากกว่า ควรจะเป็นผู้เสียภาษีมากกว่ากลุ่มที่มีโอกาสและทรัพยากรน้อยกว่าตามสัดส่วน

แม้ว่าคนวัยทำงานจำนวนมากจะมีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษีเงินได้ แต่ก็ได้ร่วมจ่ายภาษีจากการบริโภค ซึ่งผู้มีหน้าที่เสียภาษีสามารถผลักภาระภาษีไปยังผู้บริโภคโดยการบวกไว้ในราคาสินค้า เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีการค้า ภาษีธุรกิจเฉพาะ อากรแสตมป์ ภาษีศุลกากร ภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน ภาษีเครื่องดื่ม ภาษีเครื่องใช้ไฟฟ้า ภาษีรถยนต์ ภาษีรถจักรยานยนต์ ภาษีแบตเตอรี่ ภาษีสุราและยาสูบ เป็นต้น

ยิ่งไปกว่านั้น คำถามทางศีลธรรมพื้นฐาน คือ หญิงตั้งครรภ์ แม่บ้านที่อยู่บ้านดูแลลูกเล็ก คนพิการตั้งแต่กำเนิด คนประสบอุบัติเหตุจนพิการ และ คนชรา ที่ไม่มีคุณค่าเชิงเศรษฐกิจและไม่ได้เสียภาษีเงินได้ เราควรจะปล่อยให้พวกเขาเหล่านั้นมีชีวิตอดอยากยากจนอย่างน่าเวทนาใช่หรือไม่ หรือ ควรจัดสรรให้ได้รับประโยชน์จากภาษี เพื่อสวัสดิการและสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน

แน่นอนว่า ในที่สุดแล้ว ระบบบำนาญแห่งชาติ ควรจะมีระบบที่จูงใจให้รับผิดชอบมีการออมเงินในช่วงวัยทำงาน แต่ก็มีคนจำนวนมากที่ไม่มีโอกาสตั้งแต่เกิด ก็ควรจะต้องมีระบบรองรับ ไม่ให้เป็นคนยากจนอนาถา โดยมีระบบสวัสดิการที่มาจากหลักการพื้นฐานของ “การเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุข” เหมือนตัวอย่างที่ดี เช่น ยุโรป หรือ ญี่ปุ่น เป็นต้น

*

ประเด็นคัดค้าน (3): “ทำให้คนขี้เกียจและไม่วางแผนการออมของตนเอง

ข้อควรพิจารณา:

งานวิจัยจากทั่วโลกสรุปโดยนักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล แสดงให้เห็นว่า ไม่พบหลักฐานที่เป็นระบบใด ๆ ว่า โครงการโอนเงินสวัสดิการของรัฐ จะลดแรงจูงใจของผู้รับที่จะหางานทำ ดังนั้น จึงเป็นมายาคติที่เข้าใจผิดว่า ผู้รับสวัสดิการจะขี้เกียจ (Banerjee et al. 2017. Debunking the Stereotype of the Lazy Welfare Recipient: Evidence from Cash Transfer Programs Worldwide)

ทั้งนี้ เราไม่มีหลักฐานว่า การให้บำนาญพื้นฐาน จะทำให้คนไม่ออมเงิน

*

ประเด็นคัดค้าน (4): “มีโครงการช่วยเหลือประชาชนยากจนหลายโครงการอยู่แล้ว แต่ละคนได้รับรวมกันเป็นมูลค่าไม่น้อย

ข้อควรพิจารณา:

โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือ “บัตรคนจน” สามารถครอบคลุมประชากรผู้สูงอายุได้เพียงหนึ่งในสามเท่านั้น ซึ่งกลุ่มคนที่จนสุด 40% ของครัวเรือนทั้งหมด มีสัดส่วนผู้สูงอายุแค่เกือบครึ่งหนึ่งที่ได้รับสิทธิจากบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ในขณะที่กลุ่มคนรวยที่สุด 20% ของประชากรสูงอายุกว่าร้อยละ 6 กลับได้รับสิทธินี้ด้วยเช่นกัน (ทีปกร จิร์ฐิติกุลชัย, สิทธิศักดิ์ ลีลหานนท์, และ ภรณ์วรัตน์ ฟุ้งพิริยะ; 2565)

ทั้งนี้ ควรจะส่งเสริมแนวคิดที่ถูกต้องเรื่องสวัสดิการ เช่น เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ หรือ ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ประชาชนพึงได้ เป็นเครื่องมือป้องกันความเสี่ยง และ เป็นการเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุขในสังคม ไม่ใช่การสงเคราะห์คนจน

*

ประเด็นคัดค้าน (5): “มีความซ้ำซ้อน

ข้อควรพิจารณา:

กองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติที่รัฐบาลกำลังผลักดัน มีความครอบคลุมเฉพาะเพียงแค่แรงงานในระบบ โดยละเลยที่จะกล่าวถึงแรงงานที่อยู่นอกระบบ

ในขณะที่กองทุนการออมแห่งชาติ ซึ่งแรงงานที่อยู่นอกระบบสมัครเข้าร่วมได้ จะสามารถออมได้ไม่เกินเดือนละ 1,100 บาท และรัฐบาลร่วมสมทบสูงสุดไม่เกินปีละ 1,200 บาท

อนึ่ง งานวิจัยนี้ได้แสดงตัวอย่างการออกแบบระบบที่ช่วยให้ไม่ต้องจ่ายเงินบำนาญซ้ำซ้อน เช่น พิจารณาส่วนที่เพิ่มเติมจากสิทธิประโยชน์ที่ได้รับอยู่ในปัจจุบัน ขึ้นไปได้ถึงระดับมัธยฐานหรือค่าตรงกลางของค่าใช้จ่ายการบริโภคของครัวเรือนไทยที่ 6,000 บาท/เดือน/คน

*

อ่านเพิ่มเติม: การจัดตั้งระบบบำนาญแห่งชาติ (Policy Brief)

การพัฒนาประสิทธิภาพทางการคลังที่ยั่งยืนสำหรับระบบหลักประกันสุขภาพ และแบบจำลองการจัดสรรทรัพยากรกำลังคนด้านสุขภาพ

ขออุทิศรางวัลวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เพื่อการพัฒนาระบบสาธารณสุข และแก้ไขปัญหาการจัดสรรทรัพยากรทางการคลังและปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์

เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565 : รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ เป็นประธานมอบรางวัลการวิจัยแห่งชาติ  ประจำปี 2564 – 2565 ในงานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2564 – 2565 จัดโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทคบางนา ร่วมกับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และ ปลัดกระทรวง อว. พร้อมด้วยผู้บริหาร ให้เกียรติเข้าร่วมในพิธี

.

โครงการวิจัยนี้เป็นโครงการวิจัยเชิงสังเคราะห์ โดยใช้ทั้งข้อมูลทุติภูมิเชิงปริมาณและข้อมูลปฐมภูมิเชิงคุณภาพร่วมกับการศึกษางานวิจัยก่อนหน้า ซึ่งมีวัตถุประสงค์ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1) พื้นที่การคลังสาธารณสุข: ประมาณการช่องว่างในการกำหนดงบประมาณ (fiscal space) ของระบบสาธารณสุขไทย สำหรับระบบหลักประกันสุขภาพ ทั้ง 3 กองทุนหลัก โดยศึกษาช่องว่างทางการคลังสำหรับค่าใช้จ่ายที่ได้รับงบประมาณจากภาครัฐ สำหรับทุกหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และ 2) การจัดสรรบุคลากร: ศึกษาช่องว่างอุปสงค์-อุปทานของบุคลากรทางการแพทย์เชิงพื้นที่ และพัฒนาแบบจำลองในการจัดสรรทรัพยากรบุคคลให้ลดปัญหาความขาดแคลนเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ในพื้นที่เดียวกัน และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการสาธารณสุขต่อประชาชน

.

ประโยชน์ที่คาดหวังว่าจะได้รับจากการวิจัยโครงการนี้ คือ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากองค์ความรู้ที่ได้รับจากการวิจัย สามารถนำไปขยายผลให้เกิดการพัฒนาในการบริหารจัดการทางการเงินการคลังของระบบหลักประกันสุขภาพของประเทศ และการจัดสรรทรัพยากรบุคลากรทางการแพทย์ของกระทรวงสาธารณสุข

ด้านนโยบาย – ช่วยสนับสนุนข้อเสนอการคลังสุขภาพเพื่อความยั่งยืนของระบบหลักประกันสุขภาพ (SAFE) บนพื้นฐานของข้อมูล เพื่อให้ประชาชนมีความคุ้มครองทางการเงินที่ดีขึ้นจากระบบหลักประกันสุขภาพที่มีอย่างยั่งยืนและเพียงพอต่อความต้องการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มขึ้นของประชากรผู้สูงอายุ รวมทั้งช่วยให้มีหลักฐานเชิงประจักษ์สำหรับพัฒนาแนวทางการจัดสรรบุคลากรทางการแพทย์ของกระทรวงสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับความต้องการภายในพื้นที่เขตสุขภาพมากขึ้น

ด้านสาธารณะ – ประเทศไทยซึ่งมีทรัพยากรทางสาธารณสุขที่จำกัด จะสามารถบริหารจัดการทางการเงินการคลังของระบบหลักประกันสุขภาพ ได้อย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ สามารถตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมและความต้องการของประเทศที่เป็นพลวัต ในขณะที่การบริหารจัดการบุคลากรทางการแพทย์ของกระทรวงสาธารณสุข  ก็จะเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดสรรทรัพยากรเพิ่มมากขึ้น สามารถแก้ไขหรือบรรเทาวิกฤตขาดแคลนบุคลากร

ด้านวิชาการ – ช่วยพัฒนาระเบียบวิธีในการวิเคราะห์เชิงปริมาณ เพื่อศึกษาการบริหารพื้นที่การคลังของระบบหลักประกันสุขภาพ และการบริหารจัดการบุคลากรทางการแพทย์ โดยใช้ microdata เป็นพื้นฐานร่วมกับสถิติมหภาคในการวิเคราะห์และประเมินแนวโน้ม ตลอดจนการทำ counterfactual simulations เพื่อประเมินทางเลือกเชิงนโยบายในการบูรณาการ 3 กองทุนระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และ การจัดเครือข่ายบุคลากรเชิงพื้นที่

.

ผู้วิจัยได้มีโอกาสนำเสนอให้ผู้บริหารของกระทรวงสาธารณสุขหลายครั้ง ทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ จึงน่าที่จะมีโอกาสนำองค์ความรู้จากการทำวิจัยไปใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในเชิงนโยบาย

นอกจากนี้ การที่ผู้วิจัยมีโอกาสได้ไปนำเสนอต่อประชาคมเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ และ สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยคาดหวังว่า ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้จะช่วยเป็นประโยชน์ในการเผยแพร่ความรู้ต่อสาธารณะ และ ปรารถนาที่จะเป็นอีกส่วนเล็กๆ ที่ช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้นักวิชาการช่วยกันผลักดันขับเคลื่อนให้มีการนำองค์ความรู้จากการทำวิจัยไปเผยแพร่แลกเปลี่ยนและร่วมมือกับภาคสังคมและภาคนโยบาย ตามแนวคิด “สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา” ของ ศ.นพ.ประเวศ วะสี เพื่อให้จัดสรรทรัพยากรสาธารณะได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นธรรม และยั่งยืน

ที่มาภาพ: เอกสารแผยแพร่และภาพประกอบบอร์ดนิทรรศการในงานพิธีมอบรางวัลการวิจัยแห่งชาติ 

.

ความเหลื่อมล้ำ ‘ต้นทุนการรักษา’ ระหว่าง 3 ระบบหลักประกันสุขภาพในสถานพยาบาลสังกัด สธ.

https://www.thecoverage.info/news/content/6543

คอลัมน์ที่นี่แนวหน้า: หลักประกันสุขภาพกับความยั่งยืน

https://www.naewna.com/politic/columnist/47659

นักเศรษฐศาสตร์แนะรัฐเตรียมนโยบายการคลัง รับมืองบรักษาพยาบาลพุ่ง

https://thaipublica.org/2021/04/thammasat-suggest-to-government-finance-public-health/

สัปดาห์บุคลากรสาธารณสุขโลก World Health Worker Week ชวนระลึกถึงความขาดแคลนกำลังคน

https://www.thecoverage.info/news/content/3357

เปิดงานวิจัยตอกย้ำ ‘ความเหลื่อมล้ำ’ สิทธิ ‘3 กองทุนสุขภาพ’ สุดลักลั่น นักวิชาการปลุก ‘คนสาธารณสุข’ ลุกขึ้นมาสร้างความเปลี่ยนแปลง

https://www.thecoverage.info/news/content/3414

ความขาดแคลนบุคลากรสุขภาพ และการจัดเครือข่าย ของระบบสาธารณสุขไทย

https://www.thecoverage.info/news/content/3517

.

Jithitikulchai T. 2023. “Cost Variations in Outpatient and Inpatient Services among Three Health Insurance Schemes in Thai Public Hospitals” (in Thai), Journal of Health Systems Research, 17(4):684-698.

Jithitikulchai T. 2022. “Improving Allocative Efficiency from Network Consolidation: A Solution for the Health Workforce Shortage”, Human Resources for Health, 20(1), p.59.

Jithitikulchai T. 2022. “Inequity by the Universal Coverage Cube: Findings from the 2020 Household SocioEconomic Survey” (in Thai), Journal of Health Systems Research, 16(1):5-15.

Jithitikulchai T. 2020. “Area-based Network Allocations: A Solution to Mitigate the Shortage of Health Workforce” (in Thai), Journal of Health Systems Research, 14(3):243-73.

.

Theepakorn Jithitikulchai

บทคัดย่อ

โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1) พื้นที่การคลังสาธารณสุข: ประมาณการช่องว่างในการกำหนดงบประมาณ (Fiscal Space) ของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและระบบสาธารณสุข และ 2) การจัดสรรบุคลากร: ศึกษาช่องว่างอุปสงค์-อุปทานของบุคลากรทางการแพทย์เชิงพื้นที่และพัฒนาแบบจำลองในการจัดสรรทรัพยากรบุคคล เพื่อลดปัญหาความขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์

ผลการวิจัยเรื่องพื้นที่การคลัง หรือ ช่องว่างในการกำหนดงบประมาณ (Fiscal Space) ของค่าใช้จ่ายสุขภาพประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งงบประมาณจากภาครัฐ โดยเน้นระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (Universal Coverage Scheme (UCS)) เพื่อประเมินตัวชี้วัดตามกรอบ Sustainability, Adequacy, Fairness and Efficiency (SAFE) พบว่า ความยั่งยืนและความเพียงพอเป็นเรื่องที่น่ากังวลสำหรับประเทศไทยในอีกอย่างน้อย 10 ข้างหน้า ซึ่งงานวิจัยนี้ได้วิเคราะห์เชิงปริมาณสำหรับความเป็นไปได้ของ 3 รูปแบบ แนวทางบูรณาการ 3 กองทุนหลัก โดยสามารถลดงบประมาณรัฐและค่าใช้จ่ายสุขภาพรวม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการคลัง ทั้งนี้ การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์การเมือง (political economy analysis) พบว่า มีความเป็นไปได้ที่จะหาแหล่งรายได้ เช่น การเพิ่มอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อนำมาใช้ทางด้านสวัสดิการ (earmarked VAT) และ การปฏิรูปภาษีทั้งระบบ ซึ่งจำเป็นจะต้องมีการผลักดันทางการเมือง จึงจะเกิดขึ้นเป็นจริงได้

ผลการวิจัยเรื่องการจัดเครือข่ายสุขภาพเชิงพื้นที่ โดยศึกษาการจัดสรรทรัพยากรกำลังคนสุขภาพของโรงพยาบาล สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สป.สธ.) ภายในเขตพื้นที่เดียวกัน รวมทั้งวิเคราะห์การจัดสรรในรูปแบบ Public-Private Partnership พบว่า การจัดเครือข่ายระดับบริการใกล้เคียงกัน เช่น รวมระดับปฐมภูมิ ระดับทุติยภูมิระดับต้นและระดับกลาง จะสามารถช่วยลดการขาดแคลนกำลังคนสุขภาพได้ นอกจากนี้ การจัดสรรบุคลากรโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิและระดับตติยภูมิสังกัด สป.สธ. ร่วมกับโรงพยาบาลเอกชน ภายในจังหวัดเดียวกัน จะลดภาระงานเฉลี่ยต่อหัวของโรงพยาบาลสังกัด สป.สธ. เพียงเล็กน้อยเมื่อพิจารณาในระดับประเทศ อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณารายจังหวัด จะลดภาระงานเฉลี่ยต่อหัวลงได้ประมาณร้อยละ 10 หรือมากกว่า สำหรับหลายจังหวัดใหญ่

รายงานฉบับสมบูรณ์

เอกสารประกอบการนำเสนอ “การพัฒนาประสิทธิภาพทางการคลังที่ยั่งยืนสำหรับระบบประกันสุขภาพ” คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เอกสารประกอบการนำเสนอ “ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่เป็นธรรม เพียงพอและยั่งยืน: แนวโน้มค่าใช้จ่ายสุขภาพ แหล่งรายได้ และความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์การเมือง” PIER Research Exchange สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย

ห้องสมุด ๑๐๐ ปี เสม พริ้งพวงแก้ว

คอลัมน์ที่นี่แนวหน้า: หลักประกันสุขภาพกับความยั่งยืน
https://www.naewna.com/politic/columnist/47659

นักเศรษฐศาสตร์แนะรัฐเตรียมนโยบายการคลัง รับมืองบรักษาพยาบาลพุ่ง
https://thaipublica.org/2021/04/thammasat-suggest-to-government-finance-public-health/

View original post

Distribution of Personal Income Tax and Household Value Added Tax Burden of Thai Households by Wealth Cohort in 2013 and 2021

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ศึกษาภาระภาษีหรือค่าใช้จ่ายของครัวเรือนสำหรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีมูลค่าเพิ่ม จำแนกตามระดับเศรษฐฐานะ โดยพิจารณาการกระจายภาระภาษีเป็นสัดส่วนภาษีต่อรายได้และค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของครัวเรือน ซึ่งวิเคราะห์โดยใช้ข้อมูลสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ.ศ. 2556 และ 2564
ผลการศึกษาแสดงลักษณะการกระจายของภาระภาษีที่สอดคล้องกับงานวิจัยก่อนหน้า คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีโครงสร้างแบบก้าวหน้า ทำให้ภาระภาษีเพิ่มขึ้นตามครัวเรือนที่มีฐานะสูงขึ้น ในขณะที่ภาษีมูลค่าเพิ่มมีลักษณะโครงสร้างภาษีแบบถดถอยเมื่อวัดเป็นสัดส่วนต่อรายได้ ทำให้สัดส่วนภาษีต่อรายได้ของครัวเรือนจนสูงกว่าครัวเรือนรวย ในทางกลับกัน ภาษีมูลค่าเพิ่มมีโครงสร้างภาษีแบบก้าวหน้า เมื่อวัดเป็นสัดส่วนเปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายของครัวเรือน

ปรีชยา แสงทวีวรรณ*, พรทิตา ทัพเจริญ*, และ ทีปกร จิร์ฐิติกุลชัย. 2567. การกระจายภาระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีมูลค่าเพิ่มของครัวเรือนไทย จำแนกตามกลุ่มเศรษฐฐานะ ในปี พ.ศ. 2556 และ 2564. คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. Discussion Paper No.87.

Abstract

This study examines the tax burden or household expenditures for personal income tax and value-added tax, classified by economic status. It considers the distribution of the tax burden as the proportion of tax to household income and consumption expenditures. The analysis is based on data from the Household Economic and Social Survey for 2013 and 2021.

The results show a pattern of tax burden distribution consistent with previous research: personal income tax has a progressive structure, resulting in an increasing tax burden for households with higher incomes. In contrast, value-added tax has a regressive tax structure when measured as a proportion of income, with poorer households having a higher proportion of tax on income than wealthier households. On the other hand, value-added tax has a progressive tax structure when measured as a proportion of household expenditures.

Sangtaweewan, Preechaya, Thapcharoen, Porntita, and Jithitikulchai, Theepakorn. 2024. Distribution of Personal Income Tax and Household Value Added Tax Burden of Thai Households by Wealth Cohort in 2013 and 2021 (in Thai). Faculty of Economics, Thammasat University, Discussion Paper No.87

ทีปกร จิร์ฐิติกุลชัย ร่วมนำเสนอในสภา รายงาน การพัฒนาบำนาญพื้นฐานประชาชน Theepakorn Jithitikulchai’s Parliament presentation on the Elderly Basic Pension Development report

ทีปกร จิร์ฐิติกุลชัย เลขานุการคณะอนุกรรมาธิการติดตามการวางระบบบำนาญพื้นฐานประชาชน คณะกรรมาธิการสวัสดิการสังคม ร่วมนำเสนอในสภา รายงาน การพัฒนาบำนาญพื้นฐานประชาชน

I am delighted to announce, as the secretary of the Subcommittee on Elderly Pensions, aligned with the Committee on Social Welfare, that our report was successfully presented to and passed by Parliament this afternoon.

The report urges the government to raise pensions for seniors using state revenue sources, a recommendation supported by numerous economists and international organizations. However, the critical challenge lies in securing the political will to enact the necessary budgetary and tax reforms, which involve developing a fairer and more inclusive economy.

I express my sincere gratitude to everyone who contributed across different government organizations and political parties. In particular, I would like to acknowledge Dr. Duangmanee Laowakul and Mr. Wanat Banthitasopon for their leadership and support in many works, including participating in nine official meetings with various state agencies.

Report on the Study of the Development of the Basic Pension System for the People, National Committee on Social Welfare, House of Representatives

I am delighted to announce, as the secretary of the Subcommittee on Elderly Pensions, aligned with the Committee on Social Welfare, that our report was successfully presented to and passed by Parliament on March 29, 2024.

The report urges the government to raise pensions for seniors using state revenue sources, a recommendation supported by numerous economists and international organizations. However, the critical challenge lies in securing the political will to enact the necessary budgetary and tax reforms, which involve developing a fairer and more inclusive economy.

I express my sincere gratitude to everyone who contributed across different government organizations and political parties. In particular, I would like to acknowledge Dr. Duangmanee Laowakul and Mr. Wanat Banthitasopon for their leadership and support in many works, including participating in nine official meetings with various state agencies.

DOI: 
10.13140/RG.2.2.36817.30567

การพัฒนาระบบความคุ้มครองความยากจนผู้สูงอายุแบบไม่ก้าวเดินถอยหลัง

ดร.ทีปกร จิร์ฐิติกุลชัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เนื่องจากประเทศไทยยังมีโอกาสเลือกที่จะมุ่งทิศทางไปสู่เป้าหมายพัฒนาเศรษฐกิจที่สามารถกระจายทรัพยากรและโอกาสอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง โดยไม่ปล่อยให้ความเหลื่อมล้ำสะสมจนยกระดับเป็นความขัดแย้งรุนแรงตามประวัติศาสตร์ อันจะเป็นภัยคุกคามในอนาคตต่อความมั่นคงของประเทศ ซึ่งมีรากฐานมาจากปัญหาความเหลื่อมล้ำเชิงโครงสร้าง

ยิ่งไปกว่านั้น เรากำลังเผชิญตัวเร่งปฏิกิริยาไปสู่วิกฤตเศรษฐกิจสังคมผู้สูงอายุแห่งยุค Super-aged Society โดยความท้าทายจากภัยคุกคามแห่งยุคสมัย เช่น หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ (AI & Robots) และ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ซึ่งคนจนจะได้รับผลกระทบรุนแรงมาก เพราะขาดความสามารถการปรับตัวและไม่มีความคุ้มครองทางสังคม (Social Protection) ที่เพียงพอ

การระบุอย่างแม่นยำว่าคนจนคือใครบ้าง เป็นเรื่องที่ยากมาก เพราะเราไม่มีระบบข้อมูลที่สมบูรณ์ และ การดำเนินนโยบายแบบมุ่งเป้าจะทำให้ “คนจนตกหล่น” นั่นคือ วัตถุประสงค์ของการคุ้มครองความยากจนไม่มีประสิทธิภาพ ยิ่งไปกว่านั้น ข้อมูลสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน แสดงให้เห็นว่า ตรงกลาง หรือ “มัธยฐาน” ของสังคมไทย มีมาตรฐานการดำรงชีพค่าใช้จ่ายบริโภคครัวเรือนเฉลี่ยต่อคน เพียงแค่ 6,000 บาท/เดือน หรือ 200 บาท/ วัน จึงน่าจะสะท้อนความยากลำบากของคนจำนวนมาก

ตอนนี้เราได้เห็นกระแสปัญหาในประเทศรวยก่อนแก่ เช่น เกาหลีมีสตรีวัยชรายืนเร่ขายบริการทางเพศ ฮ่องกงมีชายสูงอายุจบชีวิตตนเองเพราะคิดว่าขาดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ญี่ปุ่นมีผู้สูงอายุทำผิดกฎหมายต้องโทษเรือนจำเพื่อจะได้มีอาหารและที่พัก

แม้ประเทศไทยได้พัฒนามาอย่างถูกทิศทางแล้วสำหรับระบบความคุ้มครองความยากจนผู้สูงอายุ เพราะเราสามารถมีระบบบำนาญที่สามารถคุ้มครองข้าราชการและเจ้าหน้าที่ภาครัฐได้อย่างมั่นคง อย่างไรก็ตาม หากเราจะไม่ทำอะไรเลย งบประมาณสำหรับผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วภายในสองทศวรรษข้างหน้า โดยส่วนมากมาจากงบบำนาญข้าราชการ ซึ่งจะเพิ่มสูงขึ้นไปพร้อมกับงบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ

ดังนั้น ในเมื่อประเทศไทยจำเป็นต้องมีรายได้สำหรับงบประมาณที่เพิ่มขึ้น ก็ควรจะพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสแก้ไขปัญหาโครงสร้างของประเทศ โดยปฏิรูประบบเศรษฐกิจให้มีความเป็นธรรมมากขึ้น และ สร้างระบบสวัสดิการเพื่อให้คุณภาพชีวิตของทุกคนดีขึ้น

แต่แน่นอนว่าเรื่องนี้จำเป็นต้องอาศัยแรงขับเคลื่อนโดยตรงจากภาคการเมือง หรือผู้ที่จะมีอำนาจในการตัดสินใจเชิงนโยบาย ซึ่งหลักประกันรายได้ผู้สูงอายุกำลังเป็นข้อเรียกร้องจากทั้งภาคประชาชน ภาควิชาการ รวมทั้งเป็นมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติล่าสุดที่สะท้อนความต้องการของสังคม ยิ่งไปกว่านั้น รายงานเรื่อง “แนวทางการเสนอกฎหมายบำนาญพื้นฐานแห่งชาติ” โดยคณะกรรมาธิการการสวัสดิการสังคม สภาผู้แทนราษฎร (2564) ก็ได้ผ่านความเห็นชอบเป็นฉันทามติจากในสภาเมื่อปีที่ผ่านมา

ดังนั้น การกำหนดนโยบายระบบความคุ้มครองความยากจนผู้สูงอายุสำหรับรัฐบาลใหม่ คือ จะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบว่า จะทำให้ประเทศเดินถอยหลังเรื่องความคุ้มครองความยากจนผู้สูงอายุ โดยมุ่งไปที่การตัดสวัสดิการผู้สูงอายุ หรือ จะเลือกเดินไปข้างหน้าโดยวางรากฐานที่มั่นคงให้กับอนาคต ตามข้อเสนอมากมาย แต่ขาดการลงมือกระทำจริงจัง

โครงการวิจัย “การวิเคราะห์ช่องว่างทางการคลัง แหล่งรายได้ และความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์การเมืองของการจัดตั้งระบบบำนาญแห่งชาติ โดยคำนึงถึงผลกระทบของ COVID-19 ที่มีต่อผู้สูงอายุ” โดยได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) มีข้อเสนอดังนี้

  1. ควรกำหนดให้ระบบบำนาญแห่งชาติ เป็นวาระแห่งชาติ (national agenda) ที่มีหน่วยงานรับผิดชอบชัดเจน
  2. มีการแก้ไขกฎหมายและระเบียบต่าง ๆ ที่เป็นข้อจำกัด เพื่อให้มีการกำหนดสวัสดิการถ้วนหน้าด้านบำนาญ เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ประชาชนมีสิทธิได้รับ และสามารถคุ้มครองความยากจนจากเส้นความยากจนในแต่ละปี ตัวอย่างเช่น แก้ไข พรบ. ผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 เป็น “พรบ.ผู้สูงอายุและบำนาญพื้นฐานแห่งชาติ พ.ศ. 2546” พร้อมทั้งแก้ไขให้เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเป็นบำนาญพื้นฐานแห่งชาติ และสามารถมีแหล่งรายได้เพิ่มมากขึ้นสำหรับกองทุนผู้สูงอายุ ตามข้อเสนอของคณะกรรมาธิการการสวัสดิการสังคม สภาผู้แทนราษฎร (2564) เป็นต้น
  3. สร้างระบบฐานข้อมูล โดยกำหนดให้ผู้ที่ต้องการเบี้ยผู้สูงอายุส่วนเพิ่มเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ในวัยทำงาน
  4. ส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุให้เป็นรูปธรรม ทั้งในระบบและนอกระบบ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ทำงานนานขึ้น ขอรับบำนาญช้าลง และส่งเสริมการออม
  5. ทบทวนนิยาม “การเริ่มนับอายุของผู้สูงอายุ” ให้เพิ่มมากกว่า 60 ปี และขยายเวลาในการ “เกษียณอายุ” จากการทำงาน (ทั้งภาครัฐและเอกชน) โดยอาจจำเป็นต้องแก้ไขกฎหมายบางฉบับ

นอกจากนี้ ยังมีข้อเสนอโดยนักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำของประเทศและองค์กรระหว่างประเทศต่าง ๆ สำหรับแหล่งงบประมาณเพื่อทำสวัสดิการ สามารถประมวลสรุปได้ ดังนี้

1. ปฏิรูประบบภาษี เพิ่มการจัดเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้า เช่น ภาษีทรัพย์สิน ภาษีที่ดิน รวมถึงลดนโยบายที่เอื้อให้กับคนรวย (Pro-rich)

2. ปฏิรูประบบงบประมาณ ตัดงบที่ไม่จำเป็น แล้วมาเติมสวัสดิการสำหรับเด็กเล็ก คนพิการ และ ผู้สูงอายุ

3. พัฒนาระบบการออมที่บังคับหรือจูงใจให้ “ทุกคน” ในวัยทำงานต้องรับผิดชอบออมเงิน

งานวิจัยที่ได้ทุนสนับสนุนจาก วช. ข้างต้น ยังได้แสดงให้เห็นว่า เรื่องการออมเงิน สามารถสมทบเพิ่มจากระดับความคุ้มครองขั้นพื้นฐาน เช่น เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขั้นต่ำ 2,000 บาท/เดือน แล้วออมเพิ่มขึ้นไปที่มัธยฐานสังคม คือ 6,000 บาท/เดือน โดยมีรัฐบาลร่วมออมสมทบ จะใช้งบประมาณทั้งหมดไม่สูงกว่าระบบบำนาญภาครัฐในระยะยาว

แนวทางต่างๆ ข้างต้น สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่ 3 (พ.ศ.2566-2580) เช่น “ปฏิรูประบบการจัดเก็บภาษีให้รัฐมีรายได้ที่พอเพียงเพื่อใช้ในการจัดสวัสดิการให้แก่ผู้สูงอายุ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของผู้ที่เป็นฐานภาษีหรืออยู่ในวัยทำงานมากจนเกินไป” หรือ รายงาน “แนวทางการเสนอกฎหมายบำนาญพื้นฐานแห่งชาติ” โดยคณะกรรมาธิการการสวัสดิการสังคม สภาผู้แทนราษฎร (2564) ระบุเป้าหมายระดับการคุ้มครองความยากจนผู้สูงอายุที่เส้นความยากจน กำหนดแหล่งรายได้สำหรับงบประมาณ ตลอดจนข้อเสนอแนวทางการแก้ไขกฎหมาย

กล่าวโดยสรุปคือ  มีข้อเสนอมากมายอยู่แล้ว สามารถทำได้เลย ต้องระวังอย่าให้เป็นการศึกษาไปเรื่อย ๆ เพื่อจะได้ไม่ต้องทำอะไรให้เป็นรูปธรรม

ผู้เขียนจึงขอเป็นอีกกำลังใจให้รัฐบาลและหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง สามารถทำได้สำเร็จ ทั้งนโยบายที่พรรคร่วมรัฐบาลได้หาเสียงไว้ โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการวางรากฐานที่เข้มแข็งให้กับระบบความคุ้มครองความยากจนผู้สูงอายุ เหมือนการสร้างระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ที่มาจากหลักการ “เฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุข” และ “ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง”